ปืน จิตวิทยา

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

อาการไอเกิดจาก...สาเหตุอาการไอ...วิธีรักษาอาการไอ!!! 

อาการไอเกิดจาก...สาเหตุอาการไอ...วิธีรักษาอาการไอ!!! วันนี้เอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) มีเรื่องราวเหล่านี้มาฝากและแนะนำกันค่ะ อาการไอเชื่อว่าหลายๆ คนคงจะต้องรู้สึกรำคาญมากๆ เลยใช่ไหมค่ะ ยิ่งโดยเฉพาะเวลาที่เราต้องขึ้นรถเมล์เวลาคนเงียบๆ หรือแม้แต่เวลาประชุม แล้วยังต้องมากไออีก ยิ่งห้ามหรือฝืนกลั้นไอเท่าไหร่อาการไอก็จะยิ่งมากขึ้นทุกทีซิน่า วันนี้เอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) พาคุณๆ มาหาคำตอบที่ว่า อาการไอเกิดจากอะไร และมี สาเหตุอาการไออย่างไรบ้าง รวมถึง วิธีการรักษาอาการไอ อีกด้วยค่ะ นอกจาก อาการไอเกิดจาก...สาเหตุอาการไอ...วิธีรักษาอาการไอ แล้วเอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) ยังมีเรื่องน่ารู้ของเรื่องอาการไออื่นๆ ให้คนรักสุขภาพได้ฟังเพิ่มเติมกันด้วยล่ะค่ะมาดูกันเลยค่ะ


าการไอเกิดจาก...เกิดขึ้นได้อย่างไร

อาการไอเป็นกลไกที่สำคัญอันหนึ่งของร่างกายเราในการที่จะกำจัดเสมหะและสิ่งแปลกปลอมให้ออกไปจากทางเดินหายใจ คนไข้บางคนอาจมีอาการไอเรื้อรังจนรู้สึกชิน เช่น ผู้ที่สูบบุหรี่จัดแล้วเกิดอาการไอเวลาตื่นนอนตอนเช้า ซึ่งคนปกติโดยทั่วไปแล้วจะไม่ไอ ถึงแม้จะมีเสมหะหรือสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ ทำไม? ก็เนื่องจากร่างกายของเราจะมีขนเล็กๆ ซึ่งจะอยู่ในเยื่อบุทางเดินหายใจคอยปัดเอาเสมหะหรือสิ่งแปลกปลอมให้ขึ้นไปอยู่ในคอแล้วถูกกลืนเข้าไปในทางเดินอาหารในที่สุด

อาการไอจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการกระตุ้นปลายประสาทหรือตัวรับที่เกี่ยวกับอาการไอ เช่น หลอดลม กะบังลม เยื่อหุ้มปอด
คอ หอย ช่องหูส่วนบน เป็นต้น เมื่อปลายประสาทเหล่านี้ถูกกระตุ้นก็จะส่งสัญญาณไปยังศูนย์ควบคุมอาการไอ บริเวณสมอง เมื่อศูนย์ไอถูกกระตุ้นก็จะส่งสัญญาณประสาทไปยังกล่องเสียงและกล้ามเนื้อบริเวณทรวงอกและหน้าท้องที่เกี่ยวข้องกับการหายใจทำให้เกิดอาการไอ


อาการไอเกิดจาก สาเหตุอาการไอ วิธีรักษาอาการไอ


สาเหตุของอาการไอ

การไอจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีสิ่งกระตุ้น ซึ่งสิ่งกระตุ้นเหล่านี้แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. สิ่งกระตุ้นโดยตรง เช่น ฝุ่นละอองและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปในทางเดินหายใจ รวมทั้งเนื้องอกด้วย

2. สิ่งกระตุ้นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ เช่น อาการที่หนาวเกินไป หรือร้อนเกินไป ก็ทำให้เกิดอาการไอได้

3. สิ่งกระตุ้นที่เป็นการอักเสบ เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น เป็นไข้หวัด ปอดบวม ฝีในปอด เป็นต้น

4. สิ่งกระตุ้นที่เป็นสารเคมี เช่น ก๊าซ ควันบุหรี่ ท่อไอเสีย เป็นต้น

เมื่อมีสิ่งกระตุ้นดังกล่าวก็จะทำให้เกิดอาการไอออกมาซึ่งมีทั้งไอแบบแห้งๆ และไอแบบมีเสมหะ
เนื่องจากมีการสร้างเสมหะเพิ่มขึ้นหรือเสมหะเหนียวข้นขึ้นและขนเล็กๆ ทำงานไม่ดีพอที่จะพัดโบกเอาเสมหะเหล่านั้นให้หลุดไปได้

ในเสมหะมีอะไรอยู่บ้าง? เสมหะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ

1. น้ำ ทำให้เสมหะใสอ่อนตัว
2. น้ำเมือก (mucus) ทำให้เสมหะเหนียว

3. ซากเซลล์ที่ตายแล้ว ทำให้เสมหะข้น

ไอมีประโยชน์และโทษหรือไม่...อย่างไร?

อาการไอมีทั้งประโยชน์และโทษควบคู่กันไป ในส่วนที่เป็นประโยชน์ก็คือ อาการไอจะช่วยกำจัดสิ่งแปลกปลอมซึ่งระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ กำจัดเสมหะ และใช้เป็นสัญญาณในการเตือนตัวผู้ป่วยเอง และบอกให้แพทย์ทราบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นในระบบทางเดินหายใจ

แต่ ถ้าไอมากๆ ล่ะ จะเกิดอะไรขึ้นแน่นอนย่อม
ก่อให้เกิดโทษได้หลายอย่าง เช่น อาจทำให้หน้ามืดเป็นลม ไอรุนแรงจนถุงลมในปอดแตก ไอจนเหนื่อยหอบรบกวนการนอนหลับ ไอจนซี่โครงหัก กล้ามเนื้อท้องระบม ไอจนทำงานไม่ได้

วิธีรักษาอาการไอ

1. รักษาที่สาเหตุ โดยการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการไอ เช่น ควันรถ ควันบุหรี่ เป็นต้น
2. รักษาอาการไอโดยใช้ยา ซึ่งพอจะแบ่งได้เป็น

- ยารักษาสาเหตุทำให้เกิดอาการไอ เช่น ไอจากหอบหืด ก็กินยารักษาหรือป้องกันหอบหืด
ไอจากการติดเชื้อในทางเดินหายใจ ก็กินยาปฏิชีวนะ เป็นต้น
- ยาที่ออกฤทธิ์ระงับไอ ซึ่งแบ่งตามการออกฤทธิ์ของยาได้ดังนี้
- ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยยาจะกดศูนย์การไอโดยตรงมีด้วยกันหลายชนิด แต่ที่นิยมใช้ได้แก่ โคเคอีน (codeine) และเด็กซ์โทรเมทอร์แฟน (dextrometorphan)
- ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนปลาย โดยยาจะไปลดการระคายเคืองของปลายประสาทเหล่านี้ เช่น ยาอม น้ำผึ้ง ยาน้ำเชื่อมแก้ไอ เป็นต้น
- ยาที่ออกฤทธิ์ช่วยให้การไอเป็นไปได้ง่ายขึ้น เช่น ยาขับเสมหะและยาละลายเสมหะ เป็นต้น

การที่จะเลือกใช้ยากลุ่มใดชนิดไหนนั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุของการไอและความรุนแรงว่ามากน้อยแค่ไหน การสั่งจ่ายยาควรขึ้นอยู่
กับดุลยพินิจของแพทย์ และถ้ามีปัญหาของการใช้ยาดังกล่าว ก็ปรึกษาเภสัชกรใกล้บ้านท่าน แต่สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ การดื่มน้ำอย่างเพียง พอซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุด ในผู้ป่วยที่มีอาการไอโดยเฉพาะไอจากมีเสมหะ เพราะน้ำจัดได้ว่าเป็นยาขับเสมหะ และยาละลายเสมหะที่ดีที่สุดตัวหนึ่ง ที่สำคัญก็คือ หาได้ง่าย ราคาไม่แพงอีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลวิธีการดูแลสุขภาพจาก หมอชาวบ้าน ขอขอบคุณรูปภาพจากอินเตอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น