ปืน จิตวิทยา

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

ส่งแท็บเล็ตให้โรงเรียนแล้วเกือบ 3 แสนเครื่อง

ส่งแท็บเล็ตให้โรงเรียนแล้วเกือบ 3 แสนเครื่อง

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม 2555 เวลา 22:17 น.

วันนี้ ( 28 ส.ค.) ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบาย 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต)  1 นักเรียน ที่อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า ตนได้รายงานความคืบหน้าในการจัดส่งแท็บเล็ตที่ผ่านการตรวจรับ กระจายไปยังโรงเรียนทั่วประเทศเรียงลำดับตามอักษรจังหวัดแล้ว 4 ครั้ง ยอดเมื่อวันที่ 27 ส.ค. ได้จัดสรรแท็บเล็ตให้นักเรียนชั้น ป.1แล้วทั้งสิ้น 291,776 เครื่อง ในโรงเรียน 55 จังหวัด 133 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทั้งนี้ ยังมีแท็บเล็ตชุดสุดท้าย 106,224 เครื่อง ของล็อตแรก 4 แสนเครื่อง อยู่ระหว่างการตรวจรับจากคณะกรรมการตรวจรับ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ซึ่งคาดว่าจะตรวจรับแล้วเสร็จได้ภายในวันที่ 31 ส.ค.นี้ และวันที่ 3 ก.ย. จะทยอยจัดส่งไปยังโรงเรียนใน จ.ศรีสะเกษ-อุบลราชธานี จนครบ 183 เขตพื้นที่การศึกษา ขณะที่แท็บเล็ตล็อต2 อีก 4 แสนกว่าเครื่อง จะทยอยจัดส่งให้ตามจังหวัดเหมือนการจัดส่งแท็บเล็ตล็อตแรก ทำให้นักเรียนอีกครึ่งที่เหลือของแต่ละจังหวัดจะได้รับจัดสรรแท็บเล็ตครบทุก คน ส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่เป็นการสั่งซื้อล็อตที่ 3 นั้น กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ประสานงานกับ สพฐ.เพื่อกำหนดแผนที่ว่าอปท.ใดจะรับแท็บเล็ตในเขตพื้นที่การศึกษาใด

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังมีมติอนุมัติให้เพิ่มอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกำหนดร่างขอบเขต งานในการกำหนดคุณลักษณะ หรือทีโออาร์ ของเครื่องแท็บเล็ตสำหรับครูผู้สอน จากเดิมที่รับผิดชอบกำหนดสเปกแท็บเล็ตนักเรียนชั้นป.1 เท่านั้น นอกจากนี้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ยังได้รายงานการให้บริการสอบถามข้อมูลผ่านคอล เซ็นเตอร์หมายเลข 1111 กด 8 ตั้งแต่วันที่7 มิ.ย.–31 ก.ค.2555 พบว่ามีสายที่เข้ามาสอบถามข้อมูลยังไม่มาก เพียง 22,190 สาย ส่วนใหญ่ร้อยละ 97.09 เป็นการสอบถามข้อมูลโครงการ การใช้งานอีคอนเทนส์ และการจัดส่ง มีเพียงร้อยละ 2.86 ขอคำแนะนำและแจ้งปัญหาการใช้งาน ส่วนที่เหลือร้อยละ0.04 เป็นการให้ข้อเสนอแนะ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในปีงบประมาณ 2556 จะมีโทรศัพท์เข้ามาสอบถามข้อมูลมากขึ้น เนื่องจากเป็นการใช้งานเต็มรูปแบบในชั้นป.1 ทั่วประเทศ และจะเริ่มใช้ในชั้นม.1 ด้วย

ดร.ชินภัทร กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังได้หารือถึงประสิทธิภาพของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและไวไฟ ซึ่งทางทีโอทีได้นำเสนอว่าในเดือนส.ค.ทีโอทีมีแผนจะขยายสื่อสัญญาณไฟเบอร์ออ ฟติก ในโรงเรียน 688 แห่ง ขณะที่แค็ทขยายในโรงเรียน 30แห่ง เดือนธ.ค.ทีโอทีขยาย 3,000 แห่ง แค็ทขยาย 633 แห่ง และจะเสริมสมรรถนะในระบบเอดีเอสแอล 3,000 โรง และขยายไปเรื่อยๆ ซึ่งภายในเดือน พ.ค.ที่จะเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2556 จะมีอินเทอร์เน็ตเข้าถึงโรงเรียนครบ 30,000 กว่าโรงทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ในระหว่างที่ยังไม่มีอินเทอร์เน็ตและไวไฟความเร็วสูงเข้าถึงโรงเรียน ไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะโรงเรียนในชนบท ดังนั้นจึงมีแนวคิดที่จะนำระบบอินทราเน็ตและการใช้ระบบเซิร์พเวอร์รวม เพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตในเบื้องต้นได้.





ที่มา  http://www.dailynews.co.th/education/152173

"ศักดา"เผยวิทยาลัยอาชีวะไม่กล้าให้ข้อมูลเอสพี 2

"ศักดา"เผยวิทยาลัยอาชีวะไม่กล้าให้ข้อมูลเอสพี 2

วันพุธที่ 5 กันยายน 2555 เวลา 15:11 น.
วันนี้ ( 5 ก.ย.) นายศักดา คงเพชร รมช.ศึกษาธิการ กล่าวกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอเปิดเผยความคืบหน้าการสอบสวนกรณี ทุจริตการจัดซื้อครุภัณฑ์ตามโครงการแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 ไทยเข้มแข็ง หรือ เอสพี 2 ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.)ว่า พบความผิดปกติของบริษัทเอกชนที่ส่อว่ามีการฮั้วประมูล แต่ยังไม่พบเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้องโดยตรงนั้น เท่าที่ทราบผลการสอบสวนดังกล่าวของดีเอสไอเป็นการสอบสวนโครงการจัดซื้อ ครุภัณฑ์ปี 2552 ยังไม่ใช่โครงการปี 2553-25554 ที่คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงของ กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)สรุปส่งไปให้ เพราะฉะนั้นคงต้องรอให้ทางดีเอสไอทำการเก็บรวบรวมหลักฐานต่อไปก่อน โดยทุกวันนี้ศธ.และดีเอสไอก็ทำงานประสานกันตลอดอยู่แล้ว
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า ส่วนกรณีที่ได้ทำบันทึกถึงศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศธ. เพื่อขออำนาจในการตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงเพิ่มอีก 10 ชุด เพื่อให้การสืบหาข้อเท็จจริงเป็นไปด้วยความรวดเร็ว พร้อมทั้งขออำนาจในการดำเนินการทางวินัยกับข้าราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ การทุจริตการจัดหาครุภัณฑ์เอสพี 2 ของ สอศ.ด้วย แต่ รมว.ศธ.ไม่ได้มอบอำนาจให้ตนตามที่เสนอไป โดยให้เหตุผลว่าคณะกรรมการสืบสวนฯที่มีอยู่ 4 ชุดก็เพียงพอแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้คณะกรรมการฯ 4 ชุดที่มีอยู่ก็คงต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อเร่งสรุปผลเสนอดีเอสไอ  คณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริต สภาผู้แทนราษฎร และ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ได้ภายในเดือนกันยายนนี้ 
“ที่ผ่านมาคณะกรรมการที่มีก็ทำงานหนักมากอยู่แล้ว การลงพื้นที่บางวิทยาลัยก็ไม่ให้ความร่วมมือ ไม่กล้าให้ข้อมูล เพราะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียยังอยู่ในศธ. และกลัวว่าถ้าวันหนึ่งการเมืองมีการเปลี่ยนแปลงเขาอาจจะถูกกลั่นแกล้งหรือ ถูกโยกย้ายอย่างไม่เป็นธรรมเหมือนที่ผ่านมาได้ ทำให้คณะกรรมการต้องทำงานหนักและเหนื่อยมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามผมยังมั่นใจว่าคนผิดจะต้องถูกลงโทษอย่างแน่นอน”นายศักดา กล่าว



ที่มา  http://www.dailynews.co.th/education/153507

"พร้อมพงศ์"จี้"สุชาติ"ลงพื้นที่ตรวจครุภัณฑ์อาชีวะ

"พร้อมพงศ์"จี้"สุชาติ"ลงพื้นที่ตรวจครุภัณฑ์อาชีวะ

วันพุธที่ 5 กันยายน 2555 เวลา 17:33 น.
วันนี้ (5 ก.ย.) นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ รองประธานคณะกรรมาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า จากการที่ตนพร้อมด้วย รศ.ดร.ประแสง มงคลศิริ อดีตที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธฺการได้ลงตรวจสอบและประเมินความเสียหายครุภัณฑ์อาชีวศึกษาตาม โครงการแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 ไทยเข้มแข็ง หรือ เอสพี 2 ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) ที่วิทยาลัยเทคนิคจุฬาภรณ์ (ลาดขวาง) จ.ฉะเชิงเทรา ต้องยอมรับว่าเห็นแล้วก็แทบน้ำตาไหลไม่คิดว่าจะมีคนกล้าทำอะไรที่เลวร้ายได้ ขนาดนี้  เพราะมีการยัดเยียดครุภัณฑ์ให้ทั้งที่ไม่ได้เปิดสอน แถมคุณภาพก็ยังแย่ไม่สมกับราคาที่จัดซื้อ รวมทั้งโครงการเอสพี 2 มูลค่ากว่า 5,300 ล้านบาทน่าจะมีการทุจริตไม่น้อยกว่า 50% 
"เมื่อกลับไปผมจะเร่งทำหนังสือถึงอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอให้มีการตรวจสอบเบื้องลึกคู่สัญญาที่ชนะการประมูลว่าโรงงานที่ผลิต ครุภัณฑ์อยู่ที่ไหน ได้มาตรฐานหรือไม่ รวมถึงตรวจสอบเส้นทางการเงินต่าง ๆ เพื่อหาตัวผู้กระทำความผิดให้ได้ เรื่องนี้ต้องมีคนรับผิดชอบ และที่สำคัญผมอยากให้ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ ลงพื้นที่มาดูครุภัณฑ์ที่แต่ละวิทยาลัยได้รับให้เห็นกับตาตัวเองบ้าง จะได้รู้ได้เห็นและตัดสินใจอะไรบางอย่างได้ง่ายขึ้น เพราะหากปล่อยให้เรื่องนี้เรื้อรังโดยที่ไม่ทำอะไรปัญหาก็คงไม่ได้รับการ แก้ไขเสียที"นายพร้อมพงศ์กล่าว



ที่มา  http://www.dailynews.co.th/education/153540

ครูต้องเป็นตัวอย่างที่ดี - เปิดทำเนียบครูดีครูเด่น

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม 2555 เวลา 00:00 น.
“สอนเด็กปฐมวัย ครูผู้สอนต้องเป็นคนที่มีอารมณ์ขัน อารมณ์ดี  ร้องเพลงเก่ง เล่านิทานเก่ง ครูสอนปฐมวัยต้องพูดบ่อย ๆ พูดย้ำซ้ำทวน เพราะเด็กปฐมวัยเป็นเด็กที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ดังนั้นครูต้องเป็นตัวอย่างที่ดีไม่ว่าจะเป็นการพูด การเดิน การแสดงออกทั้งกายวาจา” นางศิริทัย ธโนปจัย ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านหว้าน อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.)อุบลราชธานี เขต 4  ครูรางวัลคุรุสภา ระดับประเทศ ปี พ.ศ. 2554, รางวัลคุรุสภาสดุดี ปี พ.ศ. 2555, รางวัลหนึ่งแสนครูดี ปี พ.ศ. 2555  ให้ทัศนะถึงลักษณะของครูผู้สอนนักเรียนปฐมวัย ที่จะทำให้การสอนบรรลุวัตถุประสงค์เกิดสัมฤทธิผลการเรียนสำหรับเด็กเล็ก ซึ่งยังไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ ครูผู้สอนต้องมีความพิเศษ ครูต้องเป็นคนที่เด็ก ๆ ให้ความรักอยากอยู่ใกล้
ครูศิริทัย ซึ่งจบครูทางด้านเอกวิชาปฐมวัย บอกว่าตลอดชีวิตการเป็นครูนับแต่เริ่มบรรจุถึงปัจจุบันรวมอายุราชการกว่า 12 ปี ทำการสอนชั้นปฐมวัยมาโดยตลอด ทำให้เข้าใจในธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นอย่างดี จากการค้นคว้าเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งประสบการณ์ที่อยู่กับเด็ก ๆ ทำให้รู้และพัฒนาเทคนิคในการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัย เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่ต้องได้รับการอบรมเลี้ยงดูด้วยความรัก เอาใจใส่ จนได้รับความไว้วางใจและรู้สึกอบอุ่น ผู้ปกครองมีความเชื่อมั่นในการจัดกิจกรรมของครู
ครูศิริทัย กล่าวว่า เด็กปฐมวัยยังไม่เข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม ดังนั้นการสอนเด็กปฐมวัยครูต้องใช้สื่อการสอนของจริงให้มากเพื่อให้เด็กนัก เรียนได้รู้และเกิดความคิดรวบยอดจากรูปธรรมสู่นามธรรม ฉะนั้นการสอนเด็กปฐมวัยจะทำการสอนเรื่องอะไร ครูจะใช้สื่อการสอนของจริงให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ ครูศิริทัยยังบอกว่า ครูผู้สอนปฐมวัยนอกจากจะมีศาสตร์แล้ว ยังต้องมีศิลป์ มีความอ่อนโยนเป็นคนรักเด็กจะปฏิบัติอย่างไรให้เด็กอยากไปโรงเรียน รักครูเหมือนรักแม่ของเขา
สำหรับครูศิริทัย ได้ค้นคว้าพัฒนารูปแบบเทคนิคการสอนเพื่อให้เหมาะสมและทำให้การสอนเด็กปฐมวัย บรรลุตามวัตถุประสงค์การเรียนการสอนกระทั่งตกผลึกเป็นเทคนิควิธีการสอนมองตน เองชื่อ “Sirithai teaching method” สำหรับเทคนิควิธีการสอน “Sirithai teaching method” ครูศิริทัย กล่าวว่าประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้น Review(ทบทวนความรู้เดิม) ขั้นที่ 2 New
concept (ให้ความรู้และแนวคิดใหม่)  ขั้นที่ 3 Step action (ให้เด็กนักเรียนลงมือปฏิบัติ) และขั้นที่ 4 Fun to apply
(ประยุกต์ใช้อย่างมีความสุข)  ดังนั้นรางวัลที่ได้รับ จึงเป็นความภาคภูมิใจของความสำเร็จในวิชาชีพครูและความเป็นครูมืออาชีพ อย่างครูศิริทัย  ธโนปจัย ที่ครูไทยควรเอาเป็นแบบอย่าง.


ที่มา  http://www.dailynews.co.th/education/152244

สทศ.ยอมรับเด็กไทยสอบเยอะ

สทศ.ยอมรับเด็กไทยสอบเยอะ

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม 2555 เวลา 16:39 น.
วันนี้ (30 ส.ค.) รศ.ดร.สัมพันธ์  พันธุ์พฤกษ์  ผอ.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) กล่าวถึงกรณีที่ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช  รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) ระบุว่าขณะนี้เด็กไทยสอบจำนวนมาก ทั้งการทดสอบความถนัดทั่วไป หรือ แกต และการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ หรือแพต และยังสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐานหรือ โอเน็ต จึงอยากให้เด็กสอบโอเน็ตเพียงอย่างเดียว เพราะการสอบแต่ละอย่างจะเหมือนกัน ว่าการสอบโอเน็ตเป็นการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อวัดความรู้ของเด็กว่ามีแค่ไหน ส่วนการสอบแตและแพต เป็นการจัดสอบเพื่อนำผลคะแนนไปใช้ในการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย   ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการจัดสอบจึงแตกต่างกัน หากจะให้ปรับลดการสอบลงต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.) ผู้ตัดสินใจ เพราะสทศ.มีหน้าที่จัดสอบให้เท่านั้น

 ศ.(พิเศษ)ดร.มณฑล  สงวนเสริมศรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา(ม.พ.) กล่าวว่า การสอบแต่ละอย่างจะมีความแตกต่างกัน และมีจุดประสงค์ของการสอบที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นต้องใช้ข้อสอบคนละอย่างกันและมาตรฐานข้อสอบต้องแตกต่างกันไปด้วย แต่ส่วนตัวยอมรับว่าปัจจุบันเด็กยังต้องสอบมากจริง แต่ก็ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะวัดความถนัดอะไรเด็กบ้าง หากต้องการวัดมากเด็กก็ต้องสอบมากเช่นกัน..




ที่มาhttp://www.dailynews.co.th/education/152507

อุดมศึกษาไทยยังเป็นที่คาดหวังของสังคม

อุดมศึกษาไทยยังเป็นที่คาดหวังของสังคม

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม 2555 เวลา 00:00 น.
หลายปีที่ผ่านมาอุดมศึกษาไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มอนาคตก็ยังจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เฉพาะสถาบันอุดมศึกษากลุ่มมหาวิทยาลัยของรัฐเดิม กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชน และวิทยาลัยชุมชน มีรวมกันถึง 170 แห่ง ยังไม่รวมการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งอีกเป็นจำนวนมาก และยังเปิดหลายสาขาให้เลือกเรียนเต็มไปหมด แม้จากข้อมูลจำนวนนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจะลดน้อยลง จากภาวะเจริญพันธุ์ของคนไทยลดลง แต่การขยายตัวของสถาบันอุดมศึกษาก็ถือว่าเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทุก คนได้เรียนระดับอุดมศึกษากันมากขึ้น
แต่ที่สำคัญและน่าเป็นห่วงคือเรื่องของคุณภาพที่ไม่ได้เพิ่มขึ้นตามจำนวน สถาบัน  ในทางกลับกันยังทำให้เกิดปัญหาความซ้ำซ้อน มีสถาบันกระจุกตัวอยู่เฉพาะในเมือง  การเรียนการสอนขาดคุณภาพ จนทำให้เกิดการร้องเรียนและคำถามจากสังคมว่าสถาบันอุดมศึกษาไทยมีคุณภาพหรือ ไม่ และมาตรฐานอยู่ตรงไหน  ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษา  มีหน้าที่ศึกษาวิเคราะห์ วิจัยปัญหาและแนวทางการพัฒนาก็พยายามเก็บข้อมูลสถาบันอุดมศึกษา เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข
จึงเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการนำร่อง เพื่อติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยใหม่ มหาวิทยาลัยที่มีการจัดการเรียนการสอนนอกสถานที่ตั้ง และวิทยาลัยชุมชน  ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา(กกอ.) ได้นำคณะผู้บริหาร และสื่อมวลชนลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถาบันอุดมศึกษา 3 แห่ง คือมหาวิทยาลัยพะเยา (พม.) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ (มรอ.) วิทยาเขตแพร่ และวิทยาลัยชุมชนแพร่ ซึ่งนายอภิชาติ มองว่า สิ่งสำคัญที่ สกอ. มุ่งผลักดันให้สถาบันอุดมศึกษาทั้งหมดดำเนินการ คือคำนึงถึงพันธกิจของสถาบัน และคุณภาพของการจัดการศึกษา ทั้งด้านมาตรฐานหลักสูตร คุณภาพบุคลากรและอาจารย์ ด้านสถานที่เรียน อุปกรณ์การเรียนที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้บุคลากรที่สถาบันอุดมศึกษาผลิตออกมามีศักยภาพ มีทักษะในการทำงาน สามารถดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และแข่งขันได้ในตลาดอาเซียนอันใกล้นี้ 
จากการตรวจเยี่ยมสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 3 แห่ง เลขาธิการ กกอ. บอกว่า ในภาพรวมสามารถจัดการเรียนการสอนได้เป็นไปตามเป้าหมาย เพียงแต่จะต้องมีจุดเน้นมากขึ้น เช่น มพ. ต้องตอบโจทย์ บริการและแก้ปัญหาให้แก่ชุมชน รวมทั้งต้องสร้างบัณฑิตให้มีจิตสำนึกรับใช้และรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างมีความสุข และทบทวนการเปิดหลักสูตรนอกสถานที่ตั้งว่ายังมีความจำเป็นหรือไม่ ถ้าไม่จำเป็นก็ต้องยุบไป   ส่วนศูนย์นอกที่ตั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ วิทยาเขตแพร่ มีจุดเด่นที่อุปกรณ์-สิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอนครบถ้วน  แต่ต้องพิจารณาความเหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนว่าสอดคล้องกับความต้องการ ของท้องถิ่นอย่างแท้จริงหรือไม่ และที่สุดท้ายวิทยาลัยชุมชนแพร่  มีจุดเด่นในการนำศักยภาพชุมชนมาพัฒนาเป็นหลักสูตรเฉพาะ เพื่อให้บริการพัฒนาทักษะ องค์ความรู้แก่ประชาชนกลุ่มที่ทำงานแล้ว แต่ต้องระมัดระวังไม่จัดหลักสูตรที่เป็นวิชาซ้ำซ้อนกับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกโรงเรียน และต้องเชื่อมโยงการศึกษาต่อเนื่องจากระดับอนุปริญญาถึงระดับปริญญาตรีของ สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ให้ได้ด้วย
ศ.(พิเศษ) ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี อธิการบดี มพ. บอกว่า มพ.เป็นมหาวิทยาลัยที่จัดตั้งใหม่ มีเป้าหมายพัฒนาไปสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ เน้นพื้นที่เป้าหมายในเขตภาคเหนือตอนบน 7 จังหวัด ได้แก่ พะเยา เชียงราย ลำปาง แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน และลำพูน เพื่อกระจายโอกาสและสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาระดับอุดมศึกษา เน้นการผลิตบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสังคมศาสตร์ รวมถึงการปฏิบัติภารกิจด้านการวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และที่สำคัญเด็กที่มาเรียน มพ. ไม่จำเป็นต้องเป็นเด็กเก่ง เพราะเราจะเน้นให้บริการทุกคนที่อยากเรียนและใครเรียนได้ก็ให้เรียนหมด เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนได้เรียนอุดมศึกษาอย่างทัดเทียมกัน
น้องอัม หรือ อัมรินทร์ สวนแก้ว นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาการจัดการ ม.ราชภัฏอุตรดิตถ์ (มรอ.) วิทยาเขตแพร่ เล่าว่า ครอบครัวของตนไม่ได้ร่ำรวย มีเพียงแม่กับพี่สาวที่ส่งให้เรียน และยังต้องกู้จากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ด้วย ดังนั้นถ้าจะให้ไปเรียนมหาวิทยาลัยไกลบ้านคงไม่ได้หรือถ้าไปเรียนก็คงไม่จบ เพราะไม่มีเงิน ดังนั้นการที่ มรอ. มาเปิดวิทยาเขตที่แพร่ ทำให้ได้มีโอกาสเรียนต่อมหาวิทยาลัย และยังช่วยครอบครัวประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทั้งค่าเดินทาง ค่าหอพัก ส่วนเรื่องของการเรียนการสอน อุปกรณ์อำนวยความสะดวก อาจารย์ และสภาพแวดล้อมในการเรียนก็ไม่แตกต่างจากที่มหาวิทยาลัยแม่เลย ซึ่งตนก็เคยไปเรียนที่มหาวิทยาลัยแม่มาแล้ว
“เครื่องคอมพิวเตอร์ที่วิทยาเขตแพร่มีให้ใช้มากกว่าที่มหาวิทยาลัยแม่ ด้วยซ้ำไป เพราะจำนวนนักศึกษามีน้อยแต่เครื่องคอมพิวเตอร์มีมาก และที่สำคัญมีอาจารย์ประจำคอยให้คำปรึกษาได้ตลอดเวลาและยังมีอาจารย์จาก มหาวิทยาลัยแม่มาสอนด้วย ทำให้รู้สึกว่าคุณภาพไม่แตกต่างกัน จึงอยากให้มีการเปิดวิทยาเขตออกไปในพื้นที่ห่างไกลอีก เพื่อที่รุ่นน้องหรือคนอื่น ๆ ที่ฐานะไม่ได้ร่ำรวยจะได้มีโอกาสเรียนมหาวิทยาลัยบ้าง” น้องอัม ฝากข้อคิดเห็น
ขณะที่ ณัฐมญชุ์ แมตสี่ นักศึกษาอนุปริญญาหลักสูตรคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยชุมชนแพร่ บอกว่า เรียนที่วิทยาลัยชุมชนทำให้ประหยัด เพราะค่าเล่าเรียนไม่แพง และอยู่ใกล้บ้าน ตอนนี้ก็มาเรียนเฉพาะเสาร์-อาทิตย์ แต่เห็นว่าภาคเรียนปีการศึกษา 2556 ทางวิทยาลัยจะเปิดสอนจันทร์-ศุกร์ด้วยก็เป็นเรื่องดีจะได้มีโอกาสจบเร็วขึ้น เพื่อออกไปทำงาน ทุกวันนี้ก็ยังไม่มีอะไรทำ ทั้งนี้ตนเห็นว่าวิทยาลัยชุมชนเปิดสอนหลากหลายหลักสูตร และเป็นหลักสูตรที่ชุมชนมีความต้องการอย่างแท้จริง มั่นใจว่าจบออกมาจะมีงานทำแน่นอน
เหล่านี้คงจะเป็นส่วนหนึ่งที่ยืนยันได้อีกทางหนึ่งว่าสถาบันอุดมศึกษายัง เป็นความต้องการของสังคมไทย และเป็นความหวังของทุกคน แต่ขณะเดียวกันสถาบันการศึกษาจะต้องพัฒนาตนเองให้เป็นที่พึ่งและชี้แนะสังคม ให้มากกว่าที่เป็นอยู่ โดยเฉพาะเรื่องของคุณภาพการศึกษาที่จะต้องคำนึงถึงและให้ความสำคัญเป็นอย่าง ยิ่ง เพื่อให้สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกมารับใช้สังคมตามที่ประเทศชาติต้อง การ.

ที่มาhttp://www.dailynews.co.th/education/152417

มธ.โชว์คลังความรู้ พร้อมผลิตบัณฑิตสู่อาเซียน

มธ.โชว์คลังความรู้ พร้อมผลิตบัณฑิตสู่อาเซียน

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน 2555 เวลา 16:48 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  จัดงาน  “TU Open House 2012”  ในวันที่ 6 และวันที่ 7 กันยายน  2555  ณ ศูนย์ประชุมธรรมศาสตร์  รังสิต  เพื่อแนะแนวหลักสูตรของมหาวิทยาลัย  ให้กับนักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจ โดยในปีนี้ ชูแนวคิด “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสู่สากล” นำเสนอด้านวิชาการทั้งหลักสูตรภาษาไทย หลักสูตรนานาชาติ และบรรยากาศในการเรียนการสอนระดับสากล เพื่อรองรับนักศึกษาไทย และนักศึกษาต่างประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

รองศาสตราจารย์ ดร. กำพล รุจิวิชชญ์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร  ศูนย์รังสิต  ประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดงาน ฯ ให้สัมภาษณ์ว่า  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำหนดจัดงาน  “TU Open House 2012”  เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียน  นักศึกษา  อาจารย์  ผู้ปกครอง  ได้เห็นถึงการพัฒนาและการเติบโตทางวิชาการอย่างต่อเนื่องของมหาวิทยาลัยสู่ มาตรฐานสากล มีการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย รวมทั้งการเปิดหลักสูตรนานาชาติเพื่อรองรับนักศึกษาไทย นักศึกษาจากต่างประเทศ และนักศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อตอบสนองการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 และเปิดโอกาสให้คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยได้พัฒนาศักยภาพให้สูงขึ้นจนเป็นที่ยอมรับในระดับ สากล ซึ่งเห็นได้จากความร่วมมือทั้งในด้านวิชาการ ด้านการนักศึกษา และด้านศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย กับสถาบันและมหาวิทยาลัยต่างๆ ในทุกภูมิภาคของโลกไม่ต่ำกว่า 40 ประเทศ ซึ่งมีข้อตกลงร่วมกันมากกว่า 350 ข้อตกลง

ภายในงาน หน่วยงาน/คณะ  ต่างๆ ของมหาวิทยาลัย  ได้จัดแสดงนิทรรศการ  และออกบูธจำนวนมาก  มีกิจกรรมทางวิชาการมากมาย  อาทิ การแนะแนวหลักสูตรภาษาไทย และหลักสูตรนานาชาติ ที่เปิดสอนทั้งในระดับปริญญาตรี  ปริญญาโท  และปริญญาเอก  การนำเสนอผลงานทางวิชาการ  การแสดงผลงาน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิธินันท์ วิศเวศวร รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มธ. วิทยากรที่จะมาเสวนา เรื่อง “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสู่สากล” ซึ่งเป็นหัวข้อ Highlight ในงานนี้ ได้กล่าวเกี่ยวกับประเด็นที่น่าสนใจ ที่ธรรมศาสตร์จะเตรียมบัณฑิตให้พร้อมสำหรับการเข้าสู่ตลาดแรงงานของประชาคม อาเซียน ว่า

แม้ว่านักเรียนที่เรียนในระดับมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะศึกษาในหลักสูตรภาษาไทย แต่ด้วยการที่ปัจจุบันบริบททางสังคมได้เปลี่ยนแปลงไป ปัจจัยแรกที่สำคัญและมีอิทธิพลในชีวิตประจำวันมากขึ้น จึงหนีไม่พ้นการใช้ ภาษาอังกฤษที่เข้ามาเป็นสื่อของการสื่อสารในระดับสากลมากขึ้น แต่การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนซึ่งจะเปิดเสรีทางตลาดแรงงาน ที่จะมีการค้าขาย การลงทุนกับต่างชาติมากขึ้น ทำให้การใช้ชีวิตของเด็กไทยในอนาคต จะไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในบริบทของประเทศไทยเท่านั้น แต่ต้องใช้ชีวิต มีปฏิสัมพันธ์กับคนต่างชาติ ต่างวัฒนธรรมมากขึ้น ซึ่งธรรมศาสตร์เห็นความสำคัญของมิติการเปลี่ยนแปลง  ธรรมศาสตร์จึงมุ่งสร้างปัจจัยและกลไกต่างๆ ที่จะรองรับการเข้าสู่การเป็น “สังคมอาเซียน และสังคมนานาชาติ” โดยแบ่งเป็น 2 ด้านหลัก คือ

1. ด้านวิชาการ/ หลักสูตร  คือ ส่งเสริมการเรียนการสอนเป็นภาษาต่างประเทศ เพิ่มโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนวิชาภาษาอังกฤษ และภาษาอาเซียนเป็นวิชาโทมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังเน้นการเรียนรู้วิชาที่เกี่ยวกับอาเซียน เพราะในความเป็นนานาชาตินั้น ไม่ได้หมายความว่าจะรู้เพียงภาษาอย่างเดียว แต่ต้องรู้และเข้าใจให้เข้าถึงความแตกต่างด้านสังคม ศาสนา วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ของประเทศต่างๆ ด้วย เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่นในสังคมเดียวกัน ซึ่งธรรมศาสตร์มีความพร้อมในการให้ความรู้เหล่านี้แก่นักศึกษาอย่างรอบด้าน

2. ด้านกายภาพ/ บรรยากาศความเป็นนานาชาติ  นอกจากการเรียนรู้ในห้องเรียนแล้ว เมื่อนักศึกษาเดินออกมานอกห้องเรียน ต้องจัดสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวกให้เอื้อต่อการเป็นสังคมนานาชาติ โดยธรรมศาสตร์จะจัดระบบโรงอาหารที่มีอาหารที่เหมาะสมกับนักศึกษาต่างชาติ หลากหลายมากยิ่งขึ้น จัดให้มีสถานที่พบปะสังสรรค์ของนักศึกษาไทยและต่างชาติได้มีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และร่วมกิจกรรมกันมากขึ้นในลักษณะแบบ International Lounge  เป็นต้น ซึ่งมหาวิทยาลัยจะส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศเหล่านี้ทั้ง 4 ศูนย์การศึกษา คือ ศูนย์ท่าพระจันทร์ ศูนย์รังสิต ศูนย์ลำปาง และศูนย์พัทยา

“สำหรับธรรมศาสตร์ ความเป็นนานาชาติ ไม่ได้หมายถึงเพียงการส่งนักศึกษาไปเรียนในต่างประเทศ หรือรับนักศึกษาต่างชาติเข้ามาเรียนในธรรมศาสตร์เท่านั้น ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ ‘ความเป็นนานาชาติ’ คือ รู้เข้าใจในวัฒนธรรมนานาชาติหรือไม่ ซึ่งได้แก่วัฒนธรรมการตรงต่อเวลา การรับความแตกต่างในชุมชนนานาชาติ ซึ่งแม้จะเรียนในหลักศูตรภาษาไทย ก็เรียนรู้ได้ มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นสร้างความเป็นพลเมืองที่ดี เพราะการเป็นพลเมืองที่ดี มีความเป็นประชาธิปไตยนั้น เราต้องฟัง และยอมรับความแตกต่างของผู้อื่น ดังนั้น “ความเป็น” นานาชาติจะไม่ได้จำกัดอยู่ในกรอบของด้านภาษาเท่านั้น ดังนั้น นักเรียนจะรู้ว่าแท้จริงแล้ว ‘ความเป็นนานาชาติ’ คืออะไร และเราต้องปรับตัว ปรับทัศนคติ ทำความเข้าใจ และเตรียมพร้อมอะไรบ้างในการใช้ชีวิตในระดับมหาวิทยาลัย และการใช้ชีวิตในสังคมอนาคตที่จะมีเพื่อนบ้านต่างชาติ ต่างศาสนา ต่างวัฒนธรรมมาอยู่ร่วมกันมากขึ้น และเมื่อจบการศึกษา บัณฑิตต้องไปใช้ชีวิตทั้งในชีวิตประจำวัน และในการทำงานกับผู้คนที่หลากหลายจากอาเซียน ซึ่งตลาดแรงงานจะเปิดเสรีตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นไป”

“ทั้งนี้ นักเรียน นักศึกษาผู้ในใจเข้าร่วมงาน สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่  www.bcis.co.th/tuopenhouse หรือค้นหารายละเอียดเพิ่มที่ www.tu.ac.th หรือ facebook.com/ tuopenhouse 2012 สอบถามข้อมูล โทร. 02-564-4440 ต่อ 1117-8 งานประชาสัมพันธ์ และ 02-564-4440-50 ต่อ 1900-2, 1911 สำนักงานอาคารสถานที่ มธ.ศูนย์รังสิต”  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิธินันท์ กล่าวทิ้งท้าย.

ที่มาhttp://www.dailynews.co.th/education/153157