ปืน จิตวิทยา

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

ส่งแท็บเล็ตให้โรงเรียนแล้วเกือบ 3 แสนเครื่อง

ส่งแท็บเล็ตให้โรงเรียนแล้วเกือบ 3 แสนเครื่อง

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม 2555 เวลา 22:17 น.

วันนี้ ( 28 ส.ค.) ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบาย 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต)  1 นักเรียน ที่อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า ตนได้รายงานความคืบหน้าในการจัดส่งแท็บเล็ตที่ผ่านการตรวจรับ กระจายไปยังโรงเรียนทั่วประเทศเรียงลำดับตามอักษรจังหวัดแล้ว 4 ครั้ง ยอดเมื่อวันที่ 27 ส.ค. ได้จัดสรรแท็บเล็ตให้นักเรียนชั้น ป.1แล้วทั้งสิ้น 291,776 เครื่อง ในโรงเรียน 55 จังหวัด 133 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทั้งนี้ ยังมีแท็บเล็ตชุดสุดท้าย 106,224 เครื่อง ของล็อตแรก 4 แสนเครื่อง อยู่ระหว่างการตรวจรับจากคณะกรรมการตรวจรับ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ซึ่งคาดว่าจะตรวจรับแล้วเสร็จได้ภายในวันที่ 31 ส.ค.นี้ และวันที่ 3 ก.ย. จะทยอยจัดส่งไปยังโรงเรียนใน จ.ศรีสะเกษ-อุบลราชธานี จนครบ 183 เขตพื้นที่การศึกษา ขณะที่แท็บเล็ตล็อต2 อีก 4 แสนกว่าเครื่อง จะทยอยจัดส่งให้ตามจังหวัดเหมือนการจัดส่งแท็บเล็ตล็อตแรก ทำให้นักเรียนอีกครึ่งที่เหลือของแต่ละจังหวัดจะได้รับจัดสรรแท็บเล็ตครบทุก คน ส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่เป็นการสั่งซื้อล็อตที่ 3 นั้น กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ประสานงานกับ สพฐ.เพื่อกำหนดแผนที่ว่าอปท.ใดจะรับแท็บเล็ตในเขตพื้นที่การศึกษาใด

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังมีมติอนุมัติให้เพิ่มอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกำหนดร่างขอบเขต งานในการกำหนดคุณลักษณะ หรือทีโออาร์ ของเครื่องแท็บเล็ตสำหรับครูผู้สอน จากเดิมที่รับผิดชอบกำหนดสเปกแท็บเล็ตนักเรียนชั้นป.1 เท่านั้น นอกจากนี้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ยังได้รายงานการให้บริการสอบถามข้อมูลผ่านคอล เซ็นเตอร์หมายเลข 1111 กด 8 ตั้งแต่วันที่7 มิ.ย.–31 ก.ค.2555 พบว่ามีสายที่เข้ามาสอบถามข้อมูลยังไม่มาก เพียง 22,190 สาย ส่วนใหญ่ร้อยละ 97.09 เป็นการสอบถามข้อมูลโครงการ การใช้งานอีคอนเทนส์ และการจัดส่ง มีเพียงร้อยละ 2.86 ขอคำแนะนำและแจ้งปัญหาการใช้งาน ส่วนที่เหลือร้อยละ0.04 เป็นการให้ข้อเสนอแนะ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในปีงบประมาณ 2556 จะมีโทรศัพท์เข้ามาสอบถามข้อมูลมากขึ้น เนื่องจากเป็นการใช้งานเต็มรูปแบบในชั้นป.1 ทั่วประเทศ และจะเริ่มใช้ในชั้นม.1 ด้วย

ดร.ชินภัทร กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังได้หารือถึงประสิทธิภาพของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและไวไฟ ซึ่งทางทีโอทีได้นำเสนอว่าในเดือนส.ค.ทีโอทีมีแผนจะขยายสื่อสัญญาณไฟเบอร์ออ ฟติก ในโรงเรียน 688 แห่ง ขณะที่แค็ทขยายในโรงเรียน 30แห่ง เดือนธ.ค.ทีโอทีขยาย 3,000 แห่ง แค็ทขยาย 633 แห่ง และจะเสริมสมรรถนะในระบบเอดีเอสแอล 3,000 โรง และขยายไปเรื่อยๆ ซึ่งภายในเดือน พ.ค.ที่จะเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2556 จะมีอินเทอร์เน็ตเข้าถึงโรงเรียนครบ 30,000 กว่าโรงทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ในระหว่างที่ยังไม่มีอินเทอร์เน็ตและไวไฟความเร็วสูงเข้าถึงโรงเรียน ไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะโรงเรียนในชนบท ดังนั้นจึงมีแนวคิดที่จะนำระบบอินทราเน็ตและการใช้ระบบเซิร์พเวอร์รวม เพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตในเบื้องต้นได้.





ที่มา  http://www.dailynews.co.th/education/152173

"ศักดา"เผยวิทยาลัยอาชีวะไม่กล้าให้ข้อมูลเอสพี 2

"ศักดา"เผยวิทยาลัยอาชีวะไม่กล้าให้ข้อมูลเอสพี 2

วันพุธที่ 5 กันยายน 2555 เวลา 15:11 น.
วันนี้ ( 5 ก.ย.) นายศักดา คงเพชร รมช.ศึกษาธิการ กล่าวกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอเปิดเผยความคืบหน้าการสอบสวนกรณี ทุจริตการจัดซื้อครุภัณฑ์ตามโครงการแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 ไทยเข้มแข็ง หรือ เอสพี 2 ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.)ว่า พบความผิดปกติของบริษัทเอกชนที่ส่อว่ามีการฮั้วประมูล แต่ยังไม่พบเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้องโดยตรงนั้น เท่าที่ทราบผลการสอบสวนดังกล่าวของดีเอสไอเป็นการสอบสวนโครงการจัดซื้อ ครุภัณฑ์ปี 2552 ยังไม่ใช่โครงการปี 2553-25554 ที่คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงของ กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)สรุปส่งไปให้ เพราะฉะนั้นคงต้องรอให้ทางดีเอสไอทำการเก็บรวบรวมหลักฐานต่อไปก่อน โดยทุกวันนี้ศธ.และดีเอสไอก็ทำงานประสานกันตลอดอยู่แล้ว
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า ส่วนกรณีที่ได้ทำบันทึกถึงศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศธ. เพื่อขออำนาจในการตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงเพิ่มอีก 10 ชุด เพื่อให้การสืบหาข้อเท็จจริงเป็นไปด้วยความรวดเร็ว พร้อมทั้งขออำนาจในการดำเนินการทางวินัยกับข้าราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ การทุจริตการจัดหาครุภัณฑ์เอสพี 2 ของ สอศ.ด้วย แต่ รมว.ศธ.ไม่ได้มอบอำนาจให้ตนตามที่เสนอไป โดยให้เหตุผลว่าคณะกรรมการสืบสวนฯที่มีอยู่ 4 ชุดก็เพียงพอแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้คณะกรรมการฯ 4 ชุดที่มีอยู่ก็คงต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อเร่งสรุปผลเสนอดีเอสไอ  คณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริต สภาผู้แทนราษฎร และ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ได้ภายในเดือนกันยายนนี้ 
“ที่ผ่านมาคณะกรรมการที่มีก็ทำงานหนักมากอยู่แล้ว การลงพื้นที่บางวิทยาลัยก็ไม่ให้ความร่วมมือ ไม่กล้าให้ข้อมูล เพราะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียยังอยู่ในศธ. และกลัวว่าถ้าวันหนึ่งการเมืองมีการเปลี่ยนแปลงเขาอาจจะถูกกลั่นแกล้งหรือ ถูกโยกย้ายอย่างไม่เป็นธรรมเหมือนที่ผ่านมาได้ ทำให้คณะกรรมการต้องทำงานหนักและเหนื่อยมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามผมยังมั่นใจว่าคนผิดจะต้องถูกลงโทษอย่างแน่นอน”นายศักดา กล่าว



ที่มา  http://www.dailynews.co.th/education/153507

"พร้อมพงศ์"จี้"สุชาติ"ลงพื้นที่ตรวจครุภัณฑ์อาชีวะ

"พร้อมพงศ์"จี้"สุชาติ"ลงพื้นที่ตรวจครุภัณฑ์อาชีวะ

วันพุธที่ 5 กันยายน 2555 เวลา 17:33 น.
วันนี้ (5 ก.ย.) นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ รองประธานคณะกรรมาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า จากการที่ตนพร้อมด้วย รศ.ดร.ประแสง มงคลศิริ อดีตที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธฺการได้ลงตรวจสอบและประเมินความเสียหายครุภัณฑ์อาชีวศึกษาตาม โครงการแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 ไทยเข้มแข็ง หรือ เอสพี 2 ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) ที่วิทยาลัยเทคนิคจุฬาภรณ์ (ลาดขวาง) จ.ฉะเชิงเทรา ต้องยอมรับว่าเห็นแล้วก็แทบน้ำตาไหลไม่คิดว่าจะมีคนกล้าทำอะไรที่เลวร้ายได้ ขนาดนี้  เพราะมีการยัดเยียดครุภัณฑ์ให้ทั้งที่ไม่ได้เปิดสอน แถมคุณภาพก็ยังแย่ไม่สมกับราคาที่จัดซื้อ รวมทั้งโครงการเอสพี 2 มูลค่ากว่า 5,300 ล้านบาทน่าจะมีการทุจริตไม่น้อยกว่า 50% 
"เมื่อกลับไปผมจะเร่งทำหนังสือถึงอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอให้มีการตรวจสอบเบื้องลึกคู่สัญญาที่ชนะการประมูลว่าโรงงานที่ผลิต ครุภัณฑ์อยู่ที่ไหน ได้มาตรฐานหรือไม่ รวมถึงตรวจสอบเส้นทางการเงินต่าง ๆ เพื่อหาตัวผู้กระทำความผิดให้ได้ เรื่องนี้ต้องมีคนรับผิดชอบ และที่สำคัญผมอยากให้ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ ลงพื้นที่มาดูครุภัณฑ์ที่แต่ละวิทยาลัยได้รับให้เห็นกับตาตัวเองบ้าง จะได้รู้ได้เห็นและตัดสินใจอะไรบางอย่างได้ง่ายขึ้น เพราะหากปล่อยให้เรื่องนี้เรื้อรังโดยที่ไม่ทำอะไรปัญหาก็คงไม่ได้รับการ แก้ไขเสียที"นายพร้อมพงศ์กล่าว



ที่มา  http://www.dailynews.co.th/education/153540

ครูต้องเป็นตัวอย่างที่ดี - เปิดทำเนียบครูดีครูเด่น

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม 2555 เวลา 00:00 น.
“สอนเด็กปฐมวัย ครูผู้สอนต้องเป็นคนที่มีอารมณ์ขัน อารมณ์ดี  ร้องเพลงเก่ง เล่านิทานเก่ง ครูสอนปฐมวัยต้องพูดบ่อย ๆ พูดย้ำซ้ำทวน เพราะเด็กปฐมวัยเป็นเด็กที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ดังนั้นครูต้องเป็นตัวอย่างที่ดีไม่ว่าจะเป็นการพูด การเดิน การแสดงออกทั้งกายวาจา” นางศิริทัย ธโนปจัย ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านหว้าน อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.)อุบลราชธานี เขต 4  ครูรางวัลคุรุสภา ระดับประเทศ ปี พ.ศ. 2554, รางวัลคุรุสภาสดุดี ปี พ.ศ. 2555, รางวัลหนึ่งแสนครูดี ปี พ.ศ. 2555  ให้ทัศนะถึงลักษณะของครูผู้สอนนักเรียนปฐมวัย ที่จะทำให้การสอนบรรลุวัตถุประสงค์เกิดสัมฤทธิผลการเรียนสำหรับเด็กเล็ก ซึ่งยังไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ ครูผู้สอนต้องมีความพิเศษ ครูต้องเป็นคนที่เด็ก ๆ ให้ความรักอยากอยู่ใกล้
ครูศิริทัย ซึ่งจบครูทางด้านเอกวิชาปฐมวัย บอกว่าตลอดชีวิตการเป็นครูนับแต่เริ่มบรรจุถึงปัจจุบันรวมอายุราชการกว่า 12 ปี ทำการสอนชั้นปฐมวัยมาโดยตลอด ทำให้เข้าใจในธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นอย่างดี จากการค้นคว้าเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งประสบการณ์ที่อยู่กับเด็ก ๆ ทำให้รู้และพัฒนาเทคนิคในการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัย เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่ต้องได้รับการอบรมเลี้ยงดูด้วยความรัก เอาใจใส่ จนได้รับความไว้วางใจและรู้สึกอบอุ่น ผู้ปกครองมีความเชื่อมั่นในการจัดกิจกรรมของครู
ครูศิริทัย กล่าวว่า เด็กปฐมวัยยังไม่เข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม ดังนั้นการสอนเด็กปฐมวัยครูต้องใช้สื่อการสอนของจริงให้มากเพื่อให้เด็กนัก เรียนได้รู้และเกิดความคิดรวบยอดจากรูปธรรมสู่นามธรรม ฉะนั้นการสอนเด็กปฐมวัยจะทำการสอนเรื่องอะไร ครูจะใช้สื่อการสอนของจริงให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ ครูศิริทัยยังบอกว่า ครูผู้สอนปฐมวัยนอกจากจะมีศาสตร์แล้ว ยังต้องมีศิลป์ มีความอ่อนโยนเป็นคนรักเด็กจะปฏิบัติอย่างไรให้เด็กอยากไปโรงเรียน รักครูเหมือนรักแม่ของเขา
สำหรับครูศิริทัย ได้ค้นคว้าพัฒนารูปแบบเทคนิคการสอนเพื่อให้เหมาะสมและทำให้การสอนเด็กปฐมวัย บรรลุตามวัตถุประสงค์การเรียนการสอนกระทั่งตกผลึกเป็นเทคนิควิธีการสอนมองตน เองชื่อ “Sirithai teaching method” สำหรับเทคนิควิธีการสอน “Sirithai teaching method” ครูศิริทัย กล่าวว่าประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้น Review(ทบทวนความรู้เดิม) ขั้นที่ 2 New
concept (ให้ความรู้และแนวคิดใหม่)  ขั้นที่ 3 Step action (ให้เด็กนักเรียนลงมือปฏิบัติ) และขั้นที่ 4 Fun to apply
(ประยุกต์ใช้อย่างมีความสุข)  ดังนั้นรางวัลที่ได้รับ จึงเป็นความภาคภูมิใจของความสำเร็จในวิชาชีพครูและความเป็นครูมืออาชีพ อย่างครูศิริทัย  ธโนปจัย ที่ครูไทยควรเอาเป็นแบบอย่าง.


ที่มา  http://www.dailynews.co.th/education/152244

สทศ.ยอมรับเด็กไทยสอบเยอะ

สทศ.ยอมรับเด็กไทยสอบเยอะ

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม 2555 เวลา 16:39 น.
วันนี้ (30 ส.ค.) รศ.ดร.สัมพันธ์  พันธุ์พฤกษ์  ผอ.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) กล่าวถึงกรณีที่ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช  รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) ระบุว่าขณะนี้เด็กไทยสอบจำนวนมาก ทั้งการทดสอบความถนัดทั่วไป หรือ แกต และการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ หรือแพต และยังสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐานหรือ โอเน็ต จึงอยากให้เด็กสอบโอเน็ตเพียงอย่างเดียว เพราะการสอบแต่ละอย่างจะเหมือนกัน ว่าการสอบโอเน็ตเป็นการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อวัดความรู้ของเด็กว่ามีแค่ไหน ส่วนการสอบแตและแพต เป็นการจัดสอบเพื่อนำผลคะแนนไปใช้ในการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย   ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการจัดสอบจึงแตกต่างกัน หากจะให้ปรับลดการสอบลงต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.) ผู้ตัดสินใจ เพราะสทศ.มีหน้าที่จัดสอบให้เท่านั้น

 ศ.(พิเศษ)ดร.มณฑล  สงวนเสริมศรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา(ม.พ.) กล่าวว่า การสอบแต่ละอย่างจะมีความแตกต่างกัน และมีจุดประสงค์ของการสอบที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นต้องใช้ข้อสอบคนละอย่างกันและมาตรฐานข้อสอบต้องแตกต่างกันไปด้วย แต่ส่วนตัวยอมรับว่าปัจจุบันเด็กยังต้องสอบมากจริง แต่ก็ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะวัดความถนัดอะไรเด็กบ้าง หากต้องการวัดมากเด็กก็ต้องสอบมากเช่นกัน..




ที่มาhttp://www.dailynews.co.th/education/152507

อุดมศึกษาไทยยังเป็นที่คาดหวังของสังคม

อุดมศึกษาไทยยังเป็นที่คาดหวังของสังคม

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม 2555 เวลา 00:00 น.
หลายปีที่ผ่านมาอุดมศึกษาไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มอนาคตก็ยังจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เฉพาะสถาบันอุดมศึกษากลุ่มมหาวิทยาลัยของรัฐเดิม กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชน และวิทยาลัยชุมชน มีรวมกันถึง 170 แห่ง ยังไม่รวมการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งอีกเป็นจำนวนมาก และยังเปิดหลายสาขาให้เลือกเรียนเต็มไปหมด แม้จากข้อมูลจำนวนนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจะลดน้อยลง จากภาวะเจริญพันธุ์ของคนไทยลดลง แต่การขยายตัวของสถาบันอุดมศึกษาก็ถือว่าเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทุก คนได้เรียนระดับอุดมศึกษากันมากขึ้น
แต่ที่สำคัญและน่าเป็นห่วงคือเรื่องของคุณภาพที่ไม่ได้เพิ่มขึ้นตามจำนวน สถาบัน  ในทางกลับกันยังทำให้เกิดปัญหาความซ้ำซ้อน มีสถาบันกระจุกตัวอยู่เฉพาะในเมือง  การเรียนการสอนขาดคุณภาพ จนทำให้เกิดการร้องเรียนและคำถามจากสังคมว่าสถาบันอุดมศึกษาไทยมีคุณภาพหรือ ไม่ และมาตรฐานอยู่ตรงไหน  ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษา  มีหน้าที่ศึกษาวิเคราะห์ วิจัยปัญหาและแนวทางการพัฒนาก็พยายามเก็บข้อมูลสถาบันอุดมศึกษา เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข
จึงเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการนำร่อง เพื่อติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยใหม่ มหาวิทยาลัยที่มีการจัดการเรียนการสอนนอกสถานที่ตั้ง และวิทยาลัยชุมชน  ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา(กกอ.) ได้นำคณะผู้บริหาร และสื่อมวลชนลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถาบันอุดมศึกษา 3 แห่ง คือมหาวิทยาลัยพะเยา (พม.) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ (มรอ.) วิทยาเขตแพร่ และวิทยาลัยชุมชนแพร่ ซึ่งนายอภิชาติ มองว่า สิ่งสำคัญที่ สกอ. มุ่งผลักดันให้สถาบันอุดมศึกษาทั้งหมดดำเนินการ คือคำนึงถึงพันธกิจของสถาบัน และคุณภาพของการจัดการศึกษา ทั้งด้านมาตรฐานหลักสูตร คุณภาพบุคลากรและอาจารย์ ด้านสถานที่เรียน อุปกรณ์การเรียนที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้บุคลากรที่สถาบันอุดมศึกษาผลิตออกมามีศักยภาพ มีทักษะในการทำงาน สามารถดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และแข่งขันได้ในตลาดอาเซียนอันใกล้นี้ 
จากการตรวจเยี่ยมสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 3 แห่ง เลขาธิการ กกอ. บอกว่า ในภาพรวมสามารถจัดการเรียนการสอนได้เป็นไปตามเป้าหมาย เพียงแต่จะต้องมีจุดเน้นมากขึ้น เช่น มพ. ต้องตอบโจทย์ บริการและแก้ปัญหาให้แก่ชุมชน รวมทั้งต้องสร้างบัณฑิตให้มีจิตสำนึกรับใช้และรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างมีความสุข และทบทวนการเปิดหลักสูตรนอกสถานที่ตั้งว่ายังมีความจำเป็นหรือไม่ ถ้าไม่จำเป็นก็ต้องยุบไป   ส่วนศูนย์นอกที่ตั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ วิทยาเขตแพร่ มีจุดเด่นที่อุปกรณ์-สิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอนครบถ้วน  แต่ต้องพิจารณาความเหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนว่าสอดคล้องกับความต้องการ ของท้องถิ่นอย่างแท้จริงหรือไม่ และที่สุดท้ายวิทยาลัยชุมชนแพร่  มีจุดเด่นในการนำศักยภาพชุมชนมาพัฒนาเป็นหลักสูตรเฉพาะ เพื่อให้บริการพัฒนาทักษะ องค์ความรู้แก่ประชาชนกลุ่มที่ทำงานแล้ว แต่ต้องระมัดระวังไม่จัดหลักสูตรที่เป็นวิชาซ้ำซ้อนกับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกโรงเรียน และต้องเชื่อมโยงการศึกษาต่อเนื่องจากระดับอนุปริญญาถึงระดับปริญญาตรีของ สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ให้ได้ด้วย
ศ.(พิเศษ) ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี อธิการบดี มพ. บอกว่า มพ.เป็นมหาวิทยาลัยที่จัดตั้งใหม่ มีเป้าหมายพัฒนาไปสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ เน้นพื้นที่เป้าหมายในเขตภาคเหนือตอนบน 7 จังหวัด ได้แก่ พะเยา เชียงราย ลำปาง แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน และลำพูน เพื่อกระจายโอกาสและสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาระดับอุดมศึกษา เน้นการผลิตบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสังคมศาสตร์ รวมถึงการปฏิบัติภารกิจด้านการวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และที่สำคัญเด็กที่มาเรียน มพ. ไม่จำเป็นต้องเป็นเด็กเก่ง เพราะเราจะเน้นให้บริการทุกคนที่อยากเรียนและใครเรียนได้ก็ให้เรียนหมด เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนได้เรียนอุดมศึกษาอย่างทัดเทียมกัน
น้องอัม หรือ อัมรินทร์ สวนแก้ว นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาการจัดการ ม.ราชภัฏอุตรดิตถ์ (มรอ.) วิทยาเขตแพร่ เล่าว่า ครอบครัวของตนไม่ได้ร่ำรวย มีเพียงแม่กับพี่สาวที่ส่งให้เรียน และยังต้องกู้จากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ด้วย ดังนั้นถ้าจะให้ไปเรียนมหาวิทยาลัยไกลบ้านคงไม่ได้หรือถ้าไปเรียนก็คงไม่จบ เพราะไม่มีเงิน ดังนั้นการที่ มรอ. มาเปิดวิทยาเขตที่แพร่ ทำให้ได้มีโอกาสเรียนต่อมหาวิทยาลัย และยังช่วยครอบครัวประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทั้งค่าเดินทาง ค่าหอพัก ส่วนเรื่องของการเรียนการสอน อุปกรณ์อำนวยความสะดวก อาจารย์ และสภาพแวดล้อมในการเรียนก็ไม่แตกต่างจากที่มหาวิทยาลัยแม่เลย ซึ่งตนก็เคยไปเรียนที่มหาวิทยาลัยแม่มาแล้ว
“เครื่องคอมพิวเตอร์ที่วิทยาเขตแพร่มีให้ใช้มากกว่าที่มหาวิทยาลัยแม่ ด้วยซ้ำไป เพราะจำนวนนักศึกษามีน้อยแต่เครื่องคอมพิวเตอร์มีมาก และที่สำคัญมีอาจารย์ประจำคอยให้คำปรึกษาได้ตลอดเวลาและยังมีอาจารย์จาก มหาวิทยาลัยแม่มาสอนด้วย ทำให้รู้สึกว่าคุณภาพไม่แตกต่างกัน จึงอยากให้มีการเปิดวิทยาเขตออกไปในพื้นที่ห่างไกลอีก เพื่อที่รุ่นน้องหรือคนอื่น ๆ ที่ฐานะไม่ได้ร่ำรวยจะได้มีโอกาสเรียนมหาวิทยาลัยบ้าง” น้องอัม ฝากข้อคิดเห็น
ขณะที่ ณัฐมญชุ์ แมตสี่ นักศึกษาอนุปริญญาหลักสูตรคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยชุมชนแพร่ บอกว่า เรียนที่วิทยาลัยชุมชนทำให้ประหยัด เพราะค่าเล่าเรียนไม่แพง และอยู่ใกล้บ้าน ตอนนี้ก็มาเรียนเฉพาะเสาร์-อาทิตย์ แต่เห็นว่าภาคเรียนปีการศึกษา 2556 ทางวิทยาลัยจะเปิดสอนจันทร์-ศุกร์ด้วยก็เป็นเรื่องดีจะได้มีโอกาสจบเร็วขึ้น เพื่อออกไปทำงาน ทุกวันนี้ก็ยังไม่มีอะไรทำ ทั้งนี้ตนเห็นว่าวิทยาลัยชุมชนเปิดสอนหลากหลายหลักสูตร และเป็นหลักสูตรที่ชุมชนมีความต้องการอย่างแท้จริง มั่นใจว่าจบออกมาจะมีงานทำแน่นอน
เหล่านี้คงจะเป็นส่วนหนึ่งที่ยืนยันได้อีกทางหนึ่งว่าสถาบันอุดมศึกษายัง เป็นความต้องการของสังคมไทย และเป็นความหวังของทุกคน แต่ขณะเดียวกันสถาบันการศึกษาจะต้องพัฒนาตนเองให้เป็นที่พึ่งและชี้แนะสังคม ให้มากกว่าที่เป็นอยู่ โดยเฉพาะเรื่องของคุณภาพการศึกษาที่จะต้องคำนึงถึงและให้ความสำคัญเป็นอย่าง ยิ่ง เพื่อให้สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกมารับใช้สังคมตามที่ประเทศชาติต้อง การ.

ที่มาhttp://www.dailynews.co.th/education/152417

มธ.โชว์คลังความรู้ พร้อมผลิตบัณฑิตสู่อาเซียน

มธ.โชว์คลังความรู้ พร้อมผลิตบัณฑิตสู่อาเซียน

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน 2555 เวลา 16:48 น.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  จัดงาน  “TU Open House 2012”  ในวันที่ 6 และวันที่ 7 กันยายน  2555  ณ ศูนย์ประชุมธรรมศาสตร์  รังสิต  เพื่อแนะแนวหลักสูตรของมหาวิทยาลัย  ให้กับนักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจ โดยในปีนี้ ชูแนวคิด “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสู่สากล” นำเสนอด้านวิชาการทั้งหลักสูตรภาษาไทย หลักสูตรนานาชาติ และบรรยากาศในการเรียนการสอนระดับสากล เพื่อรองรับนักศึกษาไทย และนักศึกษาต่างประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

รองศาสตราจารย์ ดร. กำพล รุจิวิชชญ์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร  ศูนย์รังสิต  ประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดงาน ฯ ให้สัมภาษณ์ว่า  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำหนดจัดงาน  “TU Open House 2012”  เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียน  นักศึกษา  อาจารย์  ผู้ปกครอง  ได้เห็นถึงการพัฒนาและการเติบโตทางวิชาการอย่างต่อเนื่องของมหาวิทยาลัยสู่ มาตรฐานสากล มีการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย รวมทั้งการเปิดหลักสูตรนานาชาติเพื่อรองรับนักศึกษาไทย นักศึกษาจากต่างประเทศ และนักศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อตอบสนองการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 และเปิดโอกาสให้คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยได้พัฒนาศักยภาพให้สูงขึ้นจนเป็นที่ยอมรับในระดับ สากล ซึ่งเห็นได้จากความร่วมมือทั้งในด้านวิชาการ ด้านการนักศึกษา และด้านศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย กับสถาบันและมหาวิทยาลัยต่างๆ ในทุกภูมิภาคของโลกไม่ต่ำกว่า 40 ประเทศ ซึ่งมีข้อตกลงร่วมกันมากกว่า 350 ข้อตกลง

ภายในงาน หน่วยงาน/คณะ  ต่างๆ ของมหาวิทยาลัย  ได้จัดแสดงนิทรรศการ  และออกบูธจำนวนมาก  มีกิจกรรมทางวิชาการมากมาย  อาทิ การแนะแนวหลักสูตรภาษาไทย และหลักสูตรนานาชาติ ที่เปิดสอนทั้งในระดับปริญญาตรี  ปริญญาโท  และปริญญาเอก  การนำเสนอผลงานทางวิชาการ  การแสดงผลงาน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิธินันท์ วิศเวศวร รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มธ. วิทยากรที่จะมาเสวนา เรื่อง “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสู่สากล” ซึ่งเป็นหัวข้อ Highlight ในงานนี้ ได้กล่าวเกี่ยวกับประเด็นที่น่าสนใจ ที่ธรรมศาสตร์จะเตรียมบัณฑิตให้พร้อมสำหรับการเข้าสู่ตลาดแรงงานของประชาคม อาเซียน ว่า

แม้ว่านักเรียนที่เรียนในระดับมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะศึกษาในหลักสูตรภาษาไทย แต่ด้วยการที่ปัจจุบันบริบททางสังคมได้เปลี่ยนแปลงไป ปัจจัยแรกที่สำคัญและมีอิทธิพลในชีวิตประจำวันมากขึ้น จึงหนีไม่พ้นการใช้ ภาษาอังกฤษที่เข้ามาเป็นสื่อของการสื่อสารในระดับสากลมากขึ้น แต่การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนซึ่งจะเปิดเสรีทางตลาดแรงงาน ที่จะมีการค้าขาย การลงทุนกับต่างชาติมากขึ้น ทำให้การใช้ชีวิตของเด็กไทยในอนาคต จะไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในบริบทของประเทศไทยเท่านั้น แต่ต้องใช้ชีวิต มีปฏิสัมพันธ์กับคนต่างชาติ ต่างวัฒนธรรมมากขึ้น ซึ่งธรรมศาสตร์เห็นความสำคัญของมิติการเปลี่ยนแปลง  ธรรมศาสตร์จึงมุ่งสร้างปัจจัยและกลไกต่างๆ ที่จะรองรับการเข้าสู่การเป็น “สังคมอาเซียน และสังคมนานาชาติ” โดยแบ่งเป็น 2 ด้านหลัก คือ

1. ด้านวิชาการ/ หลักสูตร  คือ ส่งเสริมการเรียนการสอนเป็นภาษาต่างประเทศ เพิ่มโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนวิชาภาษาอังกฤษ และภาษาอาเซียนเป็นวิชาโทมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังเน้นการเรียนรู้วิชาที่เกี่ยวกับอาเซียน เพราะในความเป็นนานาชาตินั้น ไม่ได้หมายความว่าจะรู้เพียงภาษาอย่างเดียว แต่ต้องรู้และเข้าใจให้เข้าถึงความแตกต่างด้านสังคม ศาสนา วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ของประเทศต่างๆ ด้วย เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่นในสังคมเดียวกัน ซึ่งธรรมศาสตร์มีความพร้อมในการให้ความรู้เหล่านี้แก่นักศึกษาอย่างรอบด้าน

2. ด้านกายภาพ/ บรรยากาศความเป็นนานาชาติ  นอกจากการเรียนรู้ในห้องเรียนแล้ว เมื่อนักศึกษาเดินออกมานอกห้องเรียน ต้องจัดสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวกให้เอื้อต่อการเป็นสังคมนานาชาติ โดยธรรมศาสตร์จะจัดระบบโรงอาหารที่มีอาหารที่เหมาะสมกับนักศึกษาต่างชาติ หลากหลายมากยิ่งขึ้น จัดให้มีสถานที่พบปะสังสรรค์ของนักศึกษาไทยและต่างชาติได้มีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และร่วมกิจกรรมกันมากขึ้นในลักษณะแบบ International Lounge  เป็นต้น ซึ่งมหาวิทยาลัยจะส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศเหล่านี้ทั้ง 4 ศูนย์การศึกษา คือ ศูนย์ท่าพระจันทร์ ศูนย์รังสิต ศูนย์ลำปาง และศูนย์พัทยา

“สำหรับธรรมศาสตร์ ความเป็นนานาชาติ ไม่ได้หมายถึงเพียงการส่งนักศึกษาไปเรียนในต่างประเทศ หรือรับนักศึกษาต่างชาติเข้ามาเรียนในธรรมศาสตร์เท่านั้น ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ ‘ความเป็นนานาชาติ’ คือ รู้เข้าใจในวัฒนธรรมนานาชาติหรือไม่ ซึ่งได้แก่วัฒนธรรมการตรงต่อเวลา การรับความแตกต่างในชุมชนนานาชาติ ซึ่งแม้จะเรียนในหลักศูตรภาษาไทย ก็เรียนรู้ได้ มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นสร้างความเป็นพลเมืองที่ดี เพราะการเป็นพลเมืองที่ดี มีความเป็นประชาธิปไตยนั้น เราต้องฟัง และยอมรับความแตกต่างของผู้อื่น ดังนั้น “ความเป็น” นานาชาติจะไม่ได้จำกัดอยู่ในกรอบของด้านภาษาเท่านั้น ดังนั้น นักเรียนจะรู้ว่าแท้จริงแล้ว ‘ความเป็นนานาชาติ’ คืออะไร และเราต้องปรับตัว ปรับทัศนคติ ทำความเข้าใจ และเตรียมพร้อมอะไรบ้างในการใช้ชีวิตในระดับมหาวิทยาลัย และการใช้ชีวิตในสังคมอนาคตที่จะมีเพื่อนบ้านต่างชาติ ต่างศาสนา ต่างวัฒนธรรมมาอยู่ร่วมกันมากขึ้น และเมื่อจบการศึกษา บัณฑิตต้องไปใช้ชีวิตทั้งในชีวิตประจำวัน และในการทำงานกับผู้คนที่หลากหลายจากอาเซียน ซึ่งตลาดแรงงานจะเปิดเสรีตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นไป”

“ทั้งนี้ นักเรียน นักศึกษาผู้ในใจเข้าร่วมงาน สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่  www.bcis.co.th/tuopenhouse หรือค้นหารายละเอียดเพิ่มที่ www.tu.ac.th หรือ facebook.com/ tuopenhouse 2012 สอบถามข้อมูล โทร. 02-564-4440 ต่อ 1117-8 งานประชาสัมพันธ์ และ 02-564-4440-50 ต่อ 1900-2, 1911 สำนักงานอาคารสถานที่ มธ.ศูนย์รังสิต”  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิธินันท์ กล่าวทิ้งท้าย.

ที่มาhttp://www.dailynews.co.th/education/153157

ครูต้องไม่ทิ้งหน้าที่ - เปิดทำเนียบครูดีครูเด่น

ครูต้องไม่ทิ้งหน้าที่ - เปิดทำเนียบครูดีครูเด่น

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน 2555 เวลา 00:00 น.
ครู คือ ผู้แจวเรือจ้าง หมายถึง อาชีพครูเป็นอาชีพที่ไม่ก่อให้เกิดความ ร่ำรวย ครูต้องมีความพอใจในความเป็นอยู่อย่าง สงบเรียบร้อย อย่าหวั่นไหวต่อลาภ ยศ ความสะดวกสบาย เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้นักเรียน และส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนสามารถใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้ ทำให้การสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด....อาจารย์กตัญญู ธรรมเกื้อกูล...ได้ยึดถือเป็นหลักในการทำหน้าที่ครูผู้สอนมา 24 ปีแล้วอาจารย์กตัญญู ธรรมเกื้อกูล อายุ 47 ปี ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนวัดลาดหญ้า “ลาดหญ้าวิทยา” ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ทำหน้าที่สอนชั้น ป.1/2 เคยได้รับรางวัลเกียรติยศมากมาย ซึ่งครูกตัญญู เล่าว่า ได้สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรม 2 ชิ้น เป็นรายงานวิจัย เรื่อง การศึกษาผลการเรียนรู้กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่านเรื่องจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือกัน เทคนิค CIRC และอีกผลงานเป็นเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะด้วยวิธีการจัดประสบการณ์ การอ่านเขียนได้ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เช่นกัน โดยมีแบบฝึกหัดทั้งหมด 4 ชุดจากง่ายไปหายาก และมีแบบฝึกหัดการพัฒนาอ่านจับใจความเป็นแบบฝึกหัด 20 ชุด

“ให้นักเรียนฝึกเรื่องการอ่าน หรือเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก ๆ ฝึกวิเคราะห์ ฝึกจับใจความจากเรื่องที่อ่าน ตรงนี้ พอเด็กชอบการอ่านก็จะไปจับใจความสำหรับเรื่องที่อ่าน คือ เอาเรื่องที่เด็กชอบก่อน ให้เขารักที่จะอ่านข้อความสั้น ๆ พอทำไปเด็กก็จะมีพัฒนาการ จะสนุกกับการทำกิจกรรม เด็กก็จะขอที่จะทำและเรียนรู้ และมีรูปให้ระบายสีด้วย  นวัตกรรมชิ้นนี้ส่งผลให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ และมีความสุขกับการเรียน” อาจารย์กตัญญู ยังบอกอีกว่า ภายในห้องเรียนจะมีสื่อหลาย ๆ ชิ้น เพราะเด็กแต่ละคนจะรับรู้ได้ต่างกัน ถ้ามีสื่อประกอบเด็กจะชอบ ทำให้อยากอ่านอยากเขียนและยังได้ระบายสี  ส่วนใหญ่จะเป็นกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่ม จะมีเด็กเก่งปนกับเด็กอ่อนอยู่ด้วยกัน ก็ให้เด็กอ่อนอาศัยเด็กเก่งได้เรียนรู้ด้วยกัน โดยที่ครูก็เข้าไปคลุกกับเด็กด้วย

“การเป็นครูแต่ละคนจะมีบุคลิก มีประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน จะให้เหมือนกันไม่ได้ แต่สิ่งที่ครูต้องมีเหมือนกันทุกคน คือ การไม่ละทิ้งหน้าที่ ไม่นึกถึงผลประโยชน์อย่างอื่นก่อนเด็กนักเรียน ทำอย่างไรให้เด็กอ่านออกเขียนได้ ไม่ทิ้งเด็กนักเรียน ไม่หารายได้กับเด็ก แต่จะต้องให้เด็กเท่าที่ตัวเองจะให้ได้ ถึงแม้เด็กจะมีความแตกต่างกันก็อย่าทิ้งเด็กที่เรียนไม่เก่ง เอาเขาขึ้นมาให้ได้  ด้วยความตั้งใจมุ่งมั่นให้เต็มความสามารถ ถ้าคุณครูทำหน้าที่เต็มความสามารถจะต้องประสบความสำเร็จ เด็กนักเรียนจะภาคภูมิใจเมื่ออ่านหนังสือออกเขียนได้ แล้วจะทำให้คุณครูรู้สึกภาคภูมิใจที่ทำให้ศิษย์อ่าน-ออก-เขียน ได้” อาจารย์กตัญญู ฝากข้อคิด

สำหรับเพื่อนครูที่สนใจศึกษาวิธีการสอนภาษาไทยของอาจารย์กตัญญู สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันได้ที่ โทร. 08-6801-0676 หรือ อีเมล : Kuekool28.@hotmail.com

ปัญญา มังกโรทัย

นศ.ม.ศิลปากรกวาดรางวัลประกวดออกแบบ“ที่นั่งไม้กลางแจ้ง”

นศ.ม.ศิลปากรกวาดรางวัลประกวดออกแบบ“ที่นั่งไม้กลางแจ้ง”

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน 2555 เวลา 11:54 น.
บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประกาศผลการประกวดออกแบบ “ที่นั่งไม้สําหรับใช้งานกลางแจ้ง (Outdoor Wooden Seating Let’s Share)” ภายใต้โครงการ TOA The King of Wood ชิงแชมป์ ช่างสี ช่างไม้ ปี 3 ชิงของรางวัลรวม 60,000 บาท

สำหรับปีนี้ได้รับความสนใจจากนักออกแบบ ทั้งมือใหม่ และมืออาชีพ ตลอดจนประชาชนทั่วไป และนิสิต นักศึกษาเกือบทุกสถาบัน ร่วมส่งผลงานเข้าประกวดมากถึง 285 ผลงาน โดยคณะกรรมการได้พิจารณาจากเกณฑ์ตัดสิน ทั้งด้านความคิดสร้างสรรค์ ความเป็นไปได้ในการผลิต ประโยชน์ใช้สอย และความสวยงามน่าใช้


ซึ่งรางวัลชนะเลิศ คือ ผลงาน Simple Life ของ น.ส.ศุภรัตน์ ทวีคูณทรัพย์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยศิลปากร ส่วน รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 คือ ผลงาน Sit Me ของ นายณัฐพล เล็กชื่นสกุล นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 คือ ผลงาน A Dove All ของ นายเอกพล คงแนวดี นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร


ด้าน นายพงษ์เชิด จามีกรกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เวที “TOA The King of Wood” จัดขึ้นเพื่อส่งเสริม และพัฒนาฝีมือช่างสีช่างไม้ไทย ตลอดจนอนุรักษ์ภูมิปัญญาเชิงช่างสีช่างไม้ของไทยให้สืบทอดเป็นมรดกแก่ลูก หลาน


ทั้งนี้ รางวัลชนะเลิศจะถูกพัฒนาไปเป็นโจทย์ “เก้าอี้พอเพียง” ในรอบภูมิภาค เพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันได้โชว์เทคนิควิธีการเข้าไม้ที่น่าสนใจ และเชื่อมโยงภูมิปัญญาแบบไทย โดยจะขึ้นแบบด้วยไม้จริง พร้อมทำสีโชว์ลายไม้ ภายใต้กติกา ช่างฝีมือ 3 คน ใช้เวลาไม่เกิน 8 ชั่วโมง ในงบประมาณ 3,000 บาท ผู้ที่สนใจติดตามการแข่งขันได้ทางเว็บไซต์ www.toagroup.com


ที่มา http://www.dailynews.co.th/education/153651

ทอท.มอบกว่า3แสนให้“เยาวชนไทยมีฝีมือ”

ทอท.มอบกว่า3แสนให้“เยาวชนไทยมีฝีมือ”

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน 2555 เวลา 13:36 น.
บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ประกาศผลการประกวดภาพวาด ออกแบบเว็บไซต์และเกมส์ รวมทั้งหนังสั้นแนวเอนิเมชั่น ภายใต้โครงการ “เยาวชนไทยมีฝีมือ” ชิงเงินรางวัลรวม 373,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ

ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว ได้รับความสนใจจากนักเรียน และนิสิต นักศึกษา แสดงความสามารถ และพลังความคิดสร้างสรรค์จำนวนมาก โดยมีคณะกรรมการหลายท่านร่วมตัดสินผลงานครอบคลุมทุกแขนง อาทิ คณาจารย์ และศิลปินแห่งชาติ จากคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, กูรูด้านการออกแบบเกมส์จาก ADOBE USER GROUP และผู้กำกับภาพยนตร์จากค่าย GTH


สำหรับ
กิจกรรมการประกวดภาพวาด หัวข้อ “สานศิลป์ แพรไหม หัตถกรรมไทย ตามรอยแม่” รางวัลชนะเลิศ (ระดับประถมศึกษาตอนปลาย) คือ ด.ญ.บุษกร สังโวลี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ร.ร.วัดด่านสำโรง จ.สมุทรปราการ ส่วน รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ด.ญ.กมลพรรณ ขจรสิทธินพคุณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ร.ร.อนุบาลวัดโคกท่าเจริญ จ.ชลบุรี และ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ด.ญ.ภัทราภรณ์ นามค้อ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ร.ร.วัดด่านสำโรง จ.สมุทรปราการ

รางวัลชนะเลิศ (ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น) ด.ช.ปวเรศ พีธรากร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ร.ร.พนัสพิทยาคาร จ.ชลบุรี
ส่วน รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ด.ช.ทิวทัศน์ คะนะมะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร.ร.มัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จ.มหาสารคาม และ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 นายสุระชัย อังกาพย์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ร.ร.ศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด

รางวัลชนะเลิศ (ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย) นางสาวจงรัก แก้วงอก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ร.ร.รัตนราษฏร์บำรุง จ.ราชบุรี
ส่วน รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 นางสาวประภัสสร เทหะสุวรรณรัตน์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ร.ร.ดาราสมุทร จ.ชลบุรี และ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 นายธเนศ รัตนภักดี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ร.ร.ศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด

กิจกรรมประกวดออกแบบเว็บไซต์ และเกมส์บนหน้าเฟสบุ๊ค หัวข้อ “GREEN AIRPORT” รางวัลชนะเลิศ คือ นายกวินท์ ศิริคะเณรัตน์ นายทศพร สีตะ และ นายนฤเบศ ทานุสาร จากทีมเดอะกิ้น วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ส่วน รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 นายจตุรวิทย์ จันทรศรีวงศ์ นายพีรพล อนันตวราศิลป์ และ นายศุภยุทธ์ รักสุข จากทีม Pangping มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 นายวีรนันท์ แจ่มวราสวัสดิ์ นางสาวจิรารัตน์ คงวิมล และ นางสาวสุพัตรา กำลังมาก จากทีม Super Sun มหาวิทยาลัยศิลปากร
                                                            
กิจกรรมการประกวดหนังสั้นแนวเอนิเมชั่น หัวข้อ “สนามบิน ประตูสู่การท่องเที่ยวไทย” รางวัลชนะเลิศ คือ นางสาวชยานันท์ พรรคพล นางสาววีรวรรณ มาพิทักษ์ และ นางสาวภูริดา สุขวัจน์ จากทีมบวก มหาวิทยาลัยรังสิต
ส่วน รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 นายวรพล เจียรากร นายกฤตกานต์ ไชยดำ และ นายนิภัทร ลิมปิยินทรากูล จากทีมกลุ่มสีชอล์ก มหาวิทยาลัยรังสิต และ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 นางสาววรรณวิมล ใยกล้า นางสาวณิชา ภิรมย์แก้ว และ นางสาวอมรรัตน์ ปิยชัยพิมล จากทีม GRAYNESS มหาวิทยาลัยรังสิต

ชมผลงานของเยาวชนที่ได้รับรางวัล ได้ทาง www.facebook.com/aotcsr

ทีมา http://www.dailynews.co.th/education/153868 

สมศ.ระบุปรับวันเปิดเทอมไม่กระทบประเมินภายนอก

สมศ.ระบุปรับวันเปิดเทอมไม่กระทบประเมินภายนอก

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน 2555 เวลา 15:44 น.
วันนี้ (10 ก.ย.) ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) กล่าวว่า จากมติที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.) กรณีการปรับเปลี่ยนวันเปิดปิดเทอมเพื่อให้สอดคล้องกับการเข้าสู่ประชาคมอา เซียน ซึ่งส่งผลให้ทุกกลุ่มมหาวิทยาลัยต้องมีการหารือในเรื่องดังกล่าวนั้น ในส่วนของ สมศ.ยืนยันว่า การปรับเปลี่ยนวันเปิดปิดเทอมจะไม่กระทบต่อระบบการประเมินภายนอก เพราะ สมศ.ยึดการทำงานตามกรอบเวลาของปีงบประมาณเป็นหลัก
ดังนั้น สถานศึกษาทุกแห่งที่มีกำหนดรับการประเมินในปีดังกล่าวจะยังคงต้องรับการ ประเมินตามปกติ รวมถึงสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอาชีวศึกษาด้วย ไม่ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนวันเปิดปิดเทอมใหม่หรือไม่ ก็ไม่ได้กระทบต่อการทำงานของ สมศ.แต่อย่างใด
ทั้งนี้ยอมรับว่าในปีการศึกษา 2557 ที่เป็นปีแรกของนโยบายปรับเปลี่ยนวันเปิดปิดเทอมสำหรับมหาวิทยาลัยของรัฐ อาจกระทบต่อการทำงานบ้าน แต่ถ้าได้เตรียมการล่วงหน้าก็เชื่อว่า สมศ.จะสามารถยืดหยุ่นเพื่อให้การประเมินแล้วเสร็จตามกำหนดได้
อย่างไรก็ตาม หากสถานศึกษาโดยเฉพาะระดับอุดมศึกษามีความเห็นแตกต่างกันและไม่ดำเนินการ ปรับเปลี่ยนวันเปิดปิดเทอมพร้อมกันนั้น ก็จะถือเป็นโอกาสดีของ สมศ.ที่จะนำระบบพัฒนาอาชีพผู้ประเมินเข้ามาใช้ เนื่องจากระบบการเปิดปิดเทอมของสถานศึกษาในปัจจุบันที่สอดคล้องกัน ทำให้ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเข้าไปประเมินสามารถทำได้ปีละ 6 เดือน แต่หากมีการเปิดปิดเทอมไม่ตรงกันก็จะทำให้ สมศ.จัดสรรเวลาให้ผู้ประเมินเข้าทำหน้าที่ได้ตลอดทั้งปี
“ปกติเราจะมีช่วงเวลาในการออกประเมิน 3 เดือน ต่อ 1 ภาคการศึกษา ดังนั้นใน 1 ปี สมศ.ก็จะส่งผู้ประเมินไปทำการประเมินได้เพียง 6 เดือนเท่านั้น ส่งผลให้งานด้านนี้ยังขาดความเป็นมืออาชีพ เพราะผู้ประเมินแต่ละคนจะต้องทำงานพาร์ทไทม์ คือทำงานไม่เต็มเวลาและจะต้องมีงานอื่นเสริม นอกจากนี้เรายังต้องใช้ผู้ประเมินจำนวนมากเพื่อให้งานเสร็จทันเวลา แต่ถ้าหากเราสามารถให้ผู้ประเมินออกประเมินได้ทั้งปี สมศ.ก็จะสะดวกเรื่องการจำกัดจำนวนผู้ประเมินและพัฒนาผู้ประเมินให้เป็นผู้ ประเมินมืออาชีพได้” ผอ.สมศ.กล่าว

ที่มา http://www.dailynews.co.th/education/154369

กยศ.เข้าเป้า นร.-นศ.ยื่นกู้กว่า 8 แสนราย

กยศ.เข้าเป้า นร.-นศ.ยื่นกู้กว่า 8 แสนราย


Pic_290195
กยศ.แถลงผลการดำเนินงานกองทุนฯ ปี 55 ระบุมีนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ยื่นกู้กว่า 8 แสนรายตามเป้า...

เมื่อ วันที่ 11 ก.ย. นายธาดา มาร์ติน ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กล่าวถึงผลการดำเนินงานกองทุนฯ ประจำปีงบประมาณ 2555 ว่า กองทุนฯ ได้ดำเนินการกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ควบคู่ไปกับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักเรียน นักศึกษา เนื่องจากเล็งเห็นว่าทั้งสองกองทุนต่างมีข้อดีและให้โอกาสแก่เยาวชน ซึ่งเน้นการสนับสนุนให้เยาวชนเลือกเรียนต่อในหลักสูตรสาขาวิชาที่เป็นความ ต้องการหลักและมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคน เฉพาะนักเรียน นักศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่า ส่วนกองทุน กยศ. เน้นการช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาที่ครอบครัวขาดแคลนทุนทรัพย์

สำหรับผลการดำเนินงานที่สำคัญได้แก่ คณะกรรมการกองทุนฯ ได้อนุมัติจัดสรรงบประมาณให้กู้ยืมกว่า 43,802 ล้านบาท โดยให้กู้ยืมแก่นักเรียน นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ตั้งแต่ชั้นมัธยมปลายทั้งสายสามัญและสายอาชีพ จนถึงระดับปริญญาตรี จำนวน 868,354 ราย ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมาย และในปีนี้กองทุนฯ มีนโยบายสนับสนุนผู้ที่เรียนในสายอาชีพ โดยการปรับเพิ่มค่าครองชีพให้กับนักศึกษาระดับ ปวช. ให้เท่ากับระดับ ปวส. และปริญญาตรี


ด้านการติดตามหนี้กองทุนฯ ได้นำนโยบายเชิงรุก โดยจัดทำ "โครงการบวกพลังฟื้นฟู ผู้กู้ กยศ." ซึ่งได้รับความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต.) ในการติดตามผู้กู้ยืมที่ค้างชำระ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกองทุนฯ ที่ถูกต้อง ซึ่งผู้กู้ยืมที่จบการศึกษาแล้ว 2 ปี มีหน้าที่ต้องชำระเงินคืน ทำให้มีผู้กู้ยืมมาติดต่อชำระเงินคืนแล้วทั้งสิ้น 2,030,118 ราย คิดเป็นร้อยละ 76.97 ของผู้ที่ครบกำหนดชำระหนี้ โดยในจำนวนผู้ที่มาชำระเงินคืน มีผู้มาชำระเงินคืนตรงตามกำหนด และชำระเงินเพิ่มขึ้นมากกว่าปีที่ผ่านมา โดยได้รับเงินคืนประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งกองทุนฯ จะได้นำเงินจำนวนนี้มาหมุนเวียนให้กับนักเรียน นักศึกษารุ่นน้องต่อไป


ส่วนการดำเนินงานกองทุน กรอ. ตามนโยบายของรัฐบาลที่จะลดข้อจำกัดของการเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษา สำหรับปีการศึกษา 2555 ให้กู้ยืมแก่นักศึกษาที่เรียนในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลักและมีความ ชัดเจนของการผลิตกำลังคน จำนวน 1,005  สาขาวิชา มีสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 772 แห่ง ผลการดำเนินงานกองทุน กรอ. มีสาขาวิชาในระดับอุดมศึกษาที่มีผู้ขอกู้ยืมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สาขาการบัญชี  สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาภาษาอังกฤษ  สาขาพยาบาลศาสตร์ และสาขาธุรกิจการบิน สำหรับสาขาวิชาในระดับ ปวส. ที่มีผู้กู้ยืมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาเครื่องกล สาขาการบัญชี สาขาเทคโนโลยี-สารสนเทศ และสาขาไฟฟ้ากำลัง ตามลำดับ ทั้งนี้ ปีการศึกษา 2555 เป็นครั้งแรกที่กองทุนฯ ให้ผู้กู้ยืมกองทุน กรอ. ซึ่งมาจากครอบครัวที่มีรายได้ต่ำกว่า 200,000 บาทต่อปี สามารถกู้ยืมค่าครองชีพได้

ทั้งนี้ กองทุนฯ กำลังเร่งดำเนินการเพื่อให้ทันปีการศึกษา 2556 คือการยกร่างกฎหมายให้การดำเนินการกู้ยืมเพื่อการศึกษามีการบูรณาการครอบ คลุมการดำเนินงานของโครงการเงินกู้เพื่อการศึกษาที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต โดยควบรวมกฎหมาย กยศ. เป็นส่วนหนึ่ง เพื่อให้การกู้ยืมมีเอกภาพและเป็นระบบเดียวกัน และนักเรียน นักศึกษา ที่จะขอกู้ยืมสามารถดำเนินการได้อย่างสะดวก โดยไม่เกิดความสับสนในการดำเนินการ ผู้จัดการกองทุนฯ กล่าวในที่สุด.

ที่มา http://www.thairath.co.th/content/edu/290195

ความรู้สุขภาพจิตสำหรับประชาชน >โรคจิตต่างจากโรคประสาทอย่างไร

คือคำถามของสื่อมวลชนถามผู้อำนวยการของโรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราช นครินทร์ เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2551 ในโอกาสที่โรงพยาบาลจัดสัมมนาในโครงการสื่อมวลชนสัมพันธ์ร่วมสรรค์สร้าง TO BE NUMBER ONE ณ ห้องประชุมของโรงพยาบาล
นับว่าเป็นคำถามที่สำคัญยิ่งเพราะถ้าใครต้องเดินเข้ามารักษาที่รพ.จิตเวช ต่าง ๆ ของกรมสุขภาพจิตหลายคนจะพูดว่าเป็นโรคบ้า บางคนเรียกวิกลจริตทุกคนถือเป็นการเหมารวมที่ไม่ยุติธรรมสำหรับคนที่เดิน เข้ามาในโรงพยาบาลจิตเวช แท้จริงแล้วมีความต่างกันอยู่จึงขอเล่ารายละเอียดข้อมูลจากบทความสุขภาพจิต ใน 1667 ของกรมสุขภาพจิต ดังนี้
คนเป็นโรคจิตหรือคนวิกลจริต คนทั่วไปมักเรียกว่า "คนบ้า" ซึ่งจะสังเกต ได้จากการแสดงออกที่แตกต่างไปจากคนปกติทั่วไปเช่น หัวเราะคนเดียว พูดคนเดียว มี หูแว่ว เห็นภาพหลอนมีพฤติกรรมแปลก ๆ เปลี่ยนไปจากปกติ เช่น แก้ผ้าในที่สาธารณะ พูดจาไม่รู้เรื่อง ความคิดผิดปกติไปจากเดิม คิดว่าตนเองเป็นใหญ่ เป็นโต เป็นดารา เป็นผู้วิเศษ เหาะเหินเดินอากาศได้ บางคนมีพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อตนเอง และผู้อื่นจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
ผู้ป่วยโรคจิตในระยะเริ่มแรกนั้นสังเกตได้ค่อนข้างยาก โดยส่วนใหญ่แล้วคน ใกล้ชิดกว่าจะรู้ก็ต่อเมื่อมีอาการเป็นมากแล้ว ซึ่งอาการที่เรามักสังเกตเห็นนั้นอาจมีลักษณะดังนี้ คือ
บุคลิกภาพหรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก และผิดปกติไปจากสังคมทั่วไป ซึ่งส่วนมากจะมีลักษณะประหลาดหรือไม่ถูกกาลเทศะ เช่น เคยเป็นคนสะอาดเรียบร้อยก็กลายเป็นคนสกปรกมอมแมม คนที่เคยสุภาพกลายเป็นคนหยาบคาย ทะลึ่งตึงตัง หรือร้องรำทำเพลงตามถนน หนทาง พูดเพ้อเจ้อไม่ได้เรื่องราว
ในด้านความคิด ผู้ป่วยโรคจิตบางคนจะคิดหรือเห็นในสิ่งที่ไม่เป็น ความจริง เช่น หลงผิดคิดว่าตนเองเป็นผู้วิเศษ หรือคิดว่าจะมีคนทำร้ายทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วไม่มี บางคนจะรับรู้ หรือมีสัมผัสสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงเช่น หูแว่ว ได้ยินเสียงคนมาพูด บางรายมีภาพหลอนโดยเห็นภาพต่าง ๆ ไปเอง

ในด้านอารมณ์ ผู้ป่วยโรคจิตจะมีอารมณ์ เปลี่ยนแปลงไปได้มาก เช่น แสดงอารมณ์ ไม่สอดคล้องกับความนึกคิด หรือสภาพแวดล้อม เมื่อพูดเรื่องเศร้าเช่น แม่ตายกลับแสดงอาการหัวเราะชอบใจ หรือมีอาการเหมือนทองไม่รู้ร้อน ถ้าคนในครอบครัวหรือคนใกล้ชิดป่วยเป็นโรคจิต และได้รับการรักษาแล้ว กลับไปบ้าน คุณสามารถสังเกตอาการที่กลับเป็นซ้ำได้ โดยมีอาการเตือนที่พบได้บ่อย ๆ เช่น รู้สึกตึงเครียด กระวนกระวาย ซึมเศร้า นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ขาดสมาธิ เบื่อหน่าย ไม่มีความสุข เบื่ออาหาร กินได้น้อย ความจำไม่ดี ย้ำคิดย้ำทำ ไม่อยากพบปะผู้คน รู้สึกว่าถูกคนอื่นนินทาว่าร้าย ไม่สนใจสิ่งรอบ ๆ ตัว มีอาการหูแว่ว เห็นภาพหลอน รู้สึกไร้ค่า คิดฟุ้งซ่าน
โรคประสาทมีหลายประเภท ได้แก่ โรคประสาทวิตกกังวลทั่วไป โรคประสาท กลัวอะไรเฉพาะอย่าง โรคประสาทวิตกกังวลเกี่ยวกับเจ็บป่วยของร่างกาย โรคประสาทตื่นตกใจง่าย โรคประสาทกลัวที่โล่งแจ้ง โรคประสาท กลัวการเข้าสังคมและโรคประสาทย้ำคิดย้ำทำ และการที่บุคคลจะป่วยเป็นโรคประสาทชนิดไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของบุคลิกภาพของผู้นั้นว่ามีลักษณะเช่นไร เช่น โรคประสาทย้ำคิดย้ำทำ มักพบในบุคคลที่มีบุคลิกภาพเจ้าระเบียบหรือสมบูรณ์แบบ
อาการไม่รุนแรงเท่าโรคจิต อาการเด่น ๆ ของโรคประสาท จะมีความรู้สึกกลัวหรือวิตกกังวลเป็นอาการหลัก โดยความกลัวจะเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อมีสิ่งเร้าที่เห็นได้ชัด เช่น กลัวเสือ กลัวความมืด กลัวการอยู่ในที่แคบ ๆ เป็นต้น ส่วนความวิตกกังวลคือ ความกลัวในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง เช่น กังวลเกี่ยวกับผลสอบเอ็นทรานซ์ ทั้งที่ยังไม่ได้ประกาศออกมา เมื่อความกลัวหรือความวิตกกังวลเกิดขึ้น จะมีผลต่อพฤติกรรมของคนเรา ทำให้อาการทางกายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างก็ได้ เช่น หัวใจเต้นแรง หายใจไม่อิ่ม ท้องไส้ปั่นป่วน ปวดหรือเวียนศีรษะ และบางคนอาจเกิดปฏิกิริยาต่อความกลัวในขั้นรุนแรง จะมีอาการตื่นกลัวและตกใจอย่างมาก ถึงขนาดจะเป็นลมหมดสติ และถ้าความกลัวหรือความกังวลเกิดอยู่นาน ๆ บุคคลนั้นจะรู้สึกเหนื่อยเชื่องช้าลง ซึมเศร้า กินอะไรไม่ลง นอนไม่หลับ หรือฝันร้ายบ่อย ๆ และจะคอยหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่คล้าย ๆ กันนั้นอยู่บ่อย ๆ จะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตได้

กล่าวโดยสรุป ผู้ป่วยโรคประสาทจะมีอาการดังนี้คือ
1. วิตกกังวล กลัว ย้ำคิดย้ำทำ
2. อาการดังกล่าวมีมาก จนกระทบกระเทือนต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่นการกิตอยู่หลับนอน การทำงาน และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
3. รู้ตัวเองดีว่ามีอาการผิดปกติ
4. รู้สึกทรมานกับอาการที่เป็นอยู่ และต้องการการรักษาถ้าคุณมีอาการดังกล่าวมาทั้ง 4 ข้อ ขอให้รีบไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน
เมื่ออ่านมาถึงบรรทัดสุดท้ายนี้หวังว่าท่านคงเข้าใจถึงความแตกต่างของโรค จิตและ โรคประสาทหากเจ็บป่วยด้วยโรคจิตหรือโรคประสาทก็มีหลักในการดูแลรักษาขึ้น อยู่กับแพทย์จะวางแผนการดูแลรักษาอย่างไรคงต้องมีการพูดคุยกันระหว่าง แพทย์ ผู้ป่วย และญาติต่อไป. 

ที่มา http://www.nph.go.th/knowledge/nph4/nph4.html

จิตเภท เป็นโรคจิตชนิดหนึ่ง แปลจากชื่อโรคในภาษาอังกฤษว่า “schizophrenia” ผู้ป่วยอาจเกิดอาการไม่ชัดเจนมาก่อนเป็นเวลานานหลายๆ เดือนก็ได้

อาการ

ผู้ ป่วยจะแสดงความผิดปกติหลายๆ ด้านร่วมกัน คือมีความผิดปกติของความนึกคิด พฤติกรรม และอารมณ์มักจะเสียความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง เช่น เฉยเมย ไม่ยินดียินร้าย ไม่สนใจและไม่แสดงปฏิกิริยาทางอารมณ์หรือท่าที ไม่ว่าญาติหรือเพื่อนฝูงจะเป็นอย่างไรหรือแสดงต่อเขาอย่างไร ขาดความสนใจและความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ไม่สนใจโลกภายนอก เช่น ใครจะรักกัน ไฟจะไหม้ที่ใดก็ไม่รู้ มักแยกตัวอยู่คนเดียวไม่เข้ากลุ่ม เช่น เคยรับประทานอาหารที่โต๊ะพร้อมหน้าบิดามารดา ก็แยกไปรับประทานคนเดียวในห้องนอน ชอบอยู่แต่ในห้องไม่ออกมาสังสรรค์กับครอบครัว เคยไปงานสังคมต่างๆ เช่น งานเลี้ยง งานศพ ก็ไม่ไปโดยไม่มีเหตุผล ความประพฤติมักเสื่อมถอยกลับไปคล้ายผู้ที่อยู่ในวัยอ่อนกว่า หรือบางรายอาจคล้ายทารกไปเลย เช่น ผู้ป่วยอายุ 30 ปี อาจแสดงกิริยาวาจาหรือแต่งกายคล้ายเด็กอายุ 10 ขวบ บางรายไม่ชอบสวมเสื้อผ้า มิใช่เพื่อโอ้อวดร่างกายส่วนที่ควรปกปิด หรือเพราะเกิดอารมณ์ทางเพศอย่างที่ประชาชนทั่วไปเข้าใจผิด แต่เป็นเพราะสภาพของจิตใจที่เสื่อมถอยกลับไปสู่วัยเด็กหรือวัยทารกดังกล่าว นั่นเอง ท่านคงสังเกตว่า ทารกหรือเด็กเล็กไม่ใคร่ชอบสวมเสื้อผ้าโดยไม่รู้สึกกระดากอาย ผู้ป่วยจิตเภทบางรายหัวเราะคิดคักอย่างไม่มีเหตุผล พูดคนเดียว หรือพูดกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน

ผู้ ป่วยจิตเภทอาจมีพฤติกรรมแปลกประหลาด เช่น ลุกขึ้นอาบน้ำเวลาตีสามขณะอากาศหนาว ลงไปแช่ในตุ่มน้ำที่ขังไว้สำหรับริโภค แต่งกายพิกลผิดผู้อื่นและผิดไปจากบุคลิกภาพเดิมของตนอย่างมาก หัวเราะสลับกับร้องไห้ จุดธูปสวดมนต์ทั้งวัน ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น บางรายเอะอะ อาละวาด หยาบคาย ก้าวร้าว หรือพูดจาเลอะเทอะไม่ได้ใจความหรือบางรายอาจไม่พูดเลยคล้ายเป็นใบ้ ไม่ยอมรับประทานอาหาร ไม่ยอมเคลื่อนไหวเหมือนรูปปั้น

นอกจาก นี้ผู้ป่วยจิตเภทบางรายอาจมีความผิดปกติซึ่งไม่เป็นความจริงในชีวิตของเขา เช่น หลงผิดว่าภรรยาเป็นชู้กับชายเพื่อนบ้าน หลงผิดว่าคู่สมรสหรือเพื่อนของตนมีความมุ่งร้ายจะเอาชีวิต หลงผิดว่าตนเป็นมหาเศรษฐีมีเงินหลายล้านบาท บางรายมีประสาทหลอน เช่น หูแว่วได้ยินเสียงเพื่อนด่าหยาบคาย ได้ยินเสียงบิดาสั่งให้ตัดนิ้วตนเองทิ้งเสีย หรือมีประสาทหลอนทางตา เห็นเป็นภาพหลอนว่าภรรยากำลังถือมีดตรงเข้ามาจะทำร้ายตน ผู้ป่วยหวาดกลัวมากจนอาจหาทางป้องกันตัว โดยรีบคว้าปืนยิงภรรยาเสียก่อน ทำให้เกิดคดีฆาตกรรม ซึ่งเป็นเรื่องชวนสลดใจที่ไม่น่าเกิดขึ้นเพราะเป็นสิ่งที่ป้องกันได้

จากการ ศึกษาผู้ป่วยคดีในโรงพยาบาลจิตเวชพบว่า มีหลายรายที่การฆาตกรรมนั้นเกิดจากอาการทางจิต คือเกิดจากอาการหลงผิดหวาดระแวง หรือประสาทหลอน และอาการผิดปกติเหล่านี้ญาติหรือผู้ใกล้ชิดก็สังเกตเห็นมาก่อน แต่ไม่รีบพาไปรักษาด้วยความนิ่งนอนใจหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงปรากฏข่าวสะเทือนขวัญในหน้าหนังสือพิมพ์บ่อยๆ ในทำนองพ่อใช้ขวานฟันคอลูกในเปล สามีแทงภรรยาที่กำลังนั่งหันหลังทำกับข้าว เป็นต้น

ผู้ ป่วยจิตเภทไม่จำเป็นต้องมีอาการดังกล่าวหลายอย่างร่วมกัน บางคนอาจแสดงอาการผิดปกติให้เห็นเพียงอย่างเดียวหรือสองอย่างก็ได้ เช่น อาจมีเพียงอาการหลงผิดชนิดระแวงร่วมกับหูแว่ว โดยยังคงประกอบกิจวัตรประจำวันได้เช่นปกติ และพูดคุยได้เรื่องราวดี บางคนอาจเพียงแต่แยกตัวเอง เฉื่อยเฉยไม่ทำการงาน ไม่ยินดียินร้ายแต่ก็ไม่เอะอะอาละวาด วุ่นวาย และไม่มีประสาทหลอนหลงผิดแต่อย่างใด

ตำรา แพทย์แขนงจิตเวชศาสตร์จึงแบ่งการวินิจฉัยโรคจิตเภทออกเป็นย่อยๆ อีกหลายประเภท ซึ่งจิตแพทย์ใช้ประกอบการพิจารณาทางวิชาการเพื่อให้การรักษาและพยากรณ์โรค

อาการ ต่างๆ ที่บรรยายมาข้างต้นล้วนเป็นอาการซึ่งผู้ใกล้ชิดจะสังเกตเห็นได้อย่างค่อน ข้างชัดเจน ไม่จำเป็นต้องมีพื้นเพความรู้ทางจิตเวชศาสตร์ก็พอทราบได้ว่าบุคคลนั้นเริ่ม ป่วยเป็นโรคจิตแล้ว จึงไม่ควรรีรอหรือลังเลที่จะพาไปหาจิตแพทย์เลย


สาเหตุ

จากการ ศึกษาและงานวิจัยมากมาย ยังไม่สามารถสรุปสาเหตุที่ชัดเจนของโรคจิตเภทได้ อย่างไรก็ตาม กล่าวได้ว่า โรคจิตเภทเกิดจากความผิดปกติทางชีวเคมีของร่างกายที่มีชื่อว่าโดปามีน ซึ่งเป็นสารเคมีในสมอง หรือพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมร่วมกันเป็นพหุปัจจัย จิตแพทย์และผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเชื่อว่า สิ่งแวดล้อมทางจิตใจและสังคมซึ่งเริ่มตั้งแต่ในวัยทารกมีอิทธิพลไม่น้อย ในอันที่จะช่วยส่งเสริม หรือสนับสนุนให้เกิดอาการของโรค สิ่งแวดล้อมนี้มีความหมายกว้าง นับตั้งแต่บุคลิกภาพและท่าทีของบิดามารดาที่ต่อผู้ป่วย เช่น ญาติ ครู เพื่อน ผู้บังคับบัญ ชา ผู้ร่วมงาน ฯลฯ แต่อิทธิพลที่สำคัญที่สุดคือ ความสัมพันธ์และท่าทีของมารดาต่อผู้ป่วยตั้งแต่ในวัยทารก มารดาได้ให้ความรักความเข้าใจและความอบอุ่นอย่างถูกต้องและพอเพียงหรือไม่ เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูจากมารดาที่กระด้างชาเย็น เจ้าอารมณ์ ดุร้าย ทารุณ หรือตรงกันข้าม ปกป้องฟูมฟักบุตรจนเกินควร มีโอกาสและมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคทางจิตเวชหลายๆ ชนิด รวมทั้งโรคจิตเภทได้มากกว่าเด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูจากมารดาที่อบอุ่น อารมณ์คงเส้นคงวา และบรรลุวุฒิภาวะ

อุบัติการณ์และระบาดวิทยา

จิตเภท เป็นโรคจิตที่พบมากที่สุดในบรรดาโรคจิตทั้งหมด เกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกเพศ ทุกระดับการศึกษา อาชีพ และเศรษฐานะ แม้ว่างานค้นคว้าวิจัยในต่างประเทศจะแสดงว่าประชาชนในระดับเศรษฐกิจและสังคม ต่ำเป็นโรคจิตเภทมากกว่าพวกระดับเศรษฐกิจและสังคมสูงก็ตาม

จาก สถิติผู้ป่วยภายในโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต ปี พ.ศ. 2504 ผู้ป่วยโรคจิตที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาล 2,406 ราย เป็นโรคจิตเภทเสีย 1,141 ราย หรือ 59.65% ของผู้ป่วยโรคจิตทั้งหมด จึงเห็นได้ว่า จิตเภทเป็นโรคจิตที่พบได้มากที่สุดในโรงพยาบาลจิตเวชของประเทศไทย สถิติที่ได้ใกล้เคียงกับสถิติของโรงพยาบาลจิตเวชในต่างประเทศมาก

ผู้ ป่วยโรคจิตเภทที่มารับบริการของโรงพยาบาลในสังกัดกรมสุขภาพจิตทั่วประเทศ ซึ่งมีอยู่ 17 โรงพยาบาล ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศนั้น ประกอบไปด้วยผู้ป่วยทั้งที่เป็นนักศึกษาจากโรงเรียนและมหาวิทยาลัย ครูอาจารย์ แพทย์ ข้าราชการพลเรือน พ่อค้า ชาวนา ชาวสวน กรรมกร ฯลฯ

โรคนี้ พบมากในเกณฑ์อายุ 15-44 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่บุคคลต้องเผชิญปัญหาการปรับตัวกับเหตุการณ์และความตึง เครียดของชีวิตหลายๆ ด้าน เช่น ปัญหาการศึกษา อาชีพ การสมรส การสร้างฐานะและครอบครัว เป็นต้น ฯลฯ ในเด็กและผู้ชราก็อาจพบโรคนี้ได้บ้าง แต่อุบัติการต่ำกว่าในวัยเจริญพันธุ์มาก

การรักษา

การ รักษาโรคทางจิตเวชได้วิวัฒนาการไปมาก เมื่อเทียบกับสมัยก่อน เช่น เมื่อศตวรรษก่อน ในยุคที่โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาเพิ่งเปิดรับผู้ป่วยโรคจิต ในครั้งกระนั้น โรงพยาบาลยังไม่มีแพทย์ศึกษาอบรมทางจิตเวชศาสตร์โดยตรง และนักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่พบยาสงบประสาทที่ให้ผลดีเยี่ยมเช่นในปัจจุบันนี้ การดูแลผู้ป่วยโรคจิตจึงเป็นไปอย่างล้าสมัย

แต่ใน ปัจจุบันเรากล้ากล่าวได้ว่า การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคจิตของโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา เป็นการดูแลรักษาที่ทันสมัยเทียบเท่าอารยประเทศ แม้เมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกา โรงพยาบาลมีหอผู้ป่วยหรือที่พักและเครื่องอำนวยความสะดวกเช่นเดียวกับโรง พยาบาลฝ่ายกายทั่วไปมิได้กักขังหรือผูกมัดผู้ป่วยไว้ในห้องลูกกรงเหล็กเช่น ที่ประชาชนบางคนเข้าใจผิด

ผู้ร่วมงานฝ่ายรักษาประกอบด้วยจิตแพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา

อนึ่ง ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภท มิได้หมายความว่าจะต้องเข้าอยู่ในโรงพยาบาลทุกรายไป มีผู้ป่วยจำนวนมากที่อาจได้รับผลดีจากการรักษาแบบผู้ป่วยนอกคือยังอยู่บ้าน ได้ แต่มาพบแพทย์สม่ำเสมอตามกำหนดนัด เช่น สัปดาห์ละครั้ง ญาติผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยเข้าใจผิดว่าเมื่อผู้ป่วยเกิดอาการทางจิต แพทย์จะต้องรับไว้ เมื่อแพทย์แนะนำให้รักษาแบบผู้ป่วยนอกก็โกรธ โดยเข้าใจผิดว่า โรงพยาบาลปฏิเสธไม่ให้บริการแก่ผู้ป่วย ปัจจุบันนี้ ยังไม่มีโรงพยาบาลใดในโลกจะสามารถรับผู้ป่วยที่มารับการรักษาไว้เป็นผู้ป่วย ในได้หมดทุกราย เพราะนอกจากปัญหาใหญ่เรื่องจำนวนเตียงไม่พอกับจำนวนผู้ป่วยแล้วผู้ป่วยบาง รายโรคหรือโรคเดียวกันแต่อาการต่างกัน บางรายรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้ผลดีกว่าด้วยซ้ำไป

ในกรณี ผู้ป่วยโรคจิตเภท ผู้ที่เพิ่งเริ่มมีอาการ อาการไม่รุนแรง ควบคุมเองได้ ญาติช่วยดูแลได้ หรือยังพอประกอบอาชีพได้ ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าอยู่ในโรงพยาบาล

การ พิจารณาว่าผู้ป่วยสมควรเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือไม่ จึงควรเป็นหน้าที่ของแพทย์ผู้ตรวจเท่านั้น ญาติหรือผู้พาผู้ป่วยมาจึงควรรับฟังความเห็นของแพทย์

วิธี การรักษาส่วนใหญ่ใช้ยารักษาโรคจิตเป็นหลัก ยาประเภทนี้มีหลายชนิดแพทย์จะเลือกสั่งให้เหมาะสมกับอาการของโรค ญาติจึงไม่ควรซื้อยาตามร้านขายยาให้ผู้ป่วยรับประทานเอง เพราะนอกจากจะไม่ถูกกับอาการของโรคแล้ว ยังอาจเกิดอันตรายได้

ผู้ป่วยที่รับไว้ในโรงพยาบาล ยังมีวิธีการรักษาแบบอื่นร่วมด้วย ซึ่งแพทย์ผู้รักษาจะเลือกวิธีการร่วมเป็นรายๆ ไป เช่น

1. การทำจิตบำบัด คือ การทำให้ผู้ป่วยสบายใจขึ้น โดยพูดถึงปัญหาของผู้ป่วยด้วยการสร้างความสัมพันธ์กับแพทย์ผู้รักษา
2. การรักษาด้วยไฟฟ้า ใช้ในผู้ป่วยบางราย
3. อาชีวบำบัด คือการรักษาแบบให้ผู้ป่วยทำงาน เช่น งานหัตถกรรมประดิษฐ์ของต่างๆ งานเย็บสาน จักทอ เพื่อมิให้ผู้ป่วยมีเวลาว่างฟุ้งซ่าน ขณะเดียวกันก็ให้ประโยชน์ทางการรักษาด้วย เพราะกรรมวิธีของงานบางอย่างเป็นหนทางให้ผู้ป่วยได้ระบายอารมณ์หรือความ รู้สึกภายในด้วย เช่น การใช้ฆ้อนย้ำทุบเปลือกมะพร้าวแรงๆ เพื่อนำไปทำพรหมเช็ดเท้าเป็นทางระบายอารมณ์โกรธหรือความรู้สึกอยากทำร้ายผู้ อื่น นอกจากนี้เมื่อผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลไป อาจนำความชำนาญที่ได้รับไปประกอบอาชีพได้
4. สันทนาการบำบัดและการฟื้นฟูบุคลิกภาพ คือ การหย่อนใจ การกีฬา ศิลปะ และการรื่นเริงต่างๆ ซึ่ง นอกจากจะให้ประโยชน์ทางระบายอารมณ์และช่วยฟื้นฟูบุคลิกภาพของผู้ป่วยแล้วยัง ช่วยให้ผู้ป่วยโรคจิตซึ่งมักเสียความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น หรือแยกตัวจากสังคมได้ฝึกปรับตัวเข้าสังคมและสร้างความสัมพันธ์กับบุคลอื่น ด้วย อันเป็นการกรุยทางให้เขาได้กลับไปสู่สังคมและชุมชน อย่างที่สังคมและชุมชนเต็มใจต้อนรับเขา ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญในการรักษาผู้ป่วยจิตเภท

โรคจิตเภทส่วนมากมักเป็นๆ หายๆ แต่ถ้าสิ่งแวดล้อมในครอบครัวและในสังคมของเขาเหมาะสม เช่น ครอบ ครัวอบอุ่น มีความเข้าใจ เห็นใจ และยอมรับผู้ป่วย เต็มใจรับผู้ป่วยที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลกลับคืนสู่ครอบครัวอย่างจริงใจ สังคมและชุมชนไม่แสดงความรังเกียจผู้ป่วยและผู้ป่วยเลือกดำเนินชีวิตอย่าง ไม่ต้องพบความตรึงเครียดมากนัก ผู้ป่วยเองติดตามผลการรักษากับแพทย์สม่ำเสมอ อาการก็มักไม่กลับกำเริบอีก

ในทาง ตรงกันข้าม หากสภาพครอบครัวและชุมชนของผู้ป่วยไม่เอื้ออำนวยหรือผู้ป่วยไม่ได้รับการ รักษาที่ถูกต้องและพอเพียง ก็อาจมีอาการกำเริบบ่อยครั้ง หรืออาจเป็นเรื้อรังจนบุคลิกภาพเสื่อมกลับคืนสู่สภาพปกติไม่ได้ตลอดชีวิต

อย่าง ไรก็ตาม การอบรมเลี้ยงบุตรหลานอย่างถูกต้องตามหลักสุขภาพจิตอันจะให้เยาวชนเจริญเติบ โตอย่างมีสุขภาพจิตดี ซึ่งนอกจากจะเป็นการป้องกันมิให้โรคจิตเภทกลับเป็นซ้ำอีก ยังเป็นการป้องกันโรคจิตโรคประสาทอื่นๆ และบุคลิกภาพแปรปรวนต่างๆ อีกด้วย



*******************************************


ที่มาของข้อมูล: จาก คู่มือจิตเวชศาสตร์ สำหรับประชาชน หน้า 157-160

http://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=1000

ชุดชั้นในสีดำ...เสี่ยงมะเร็ง!

ชุดชั้นในสีดำ...เสี่ยงมะเร็ง!

ชุดชั้นในสีดำมีโอกาสเสี่ยงมะเร็งคุณผู้หญิงรู้กันบ้างหรือไม่ค่ะ วันนี้เอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) เลยขอนำเรื่องดีๆ ที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณผู้หญิงทั้งหลายที่โดยเฉพาะนิยมเลือกซื้อ ชุดชั้นในสีดำหรือชื่นชอบชุดชั้นในสีดำกันเป็นพิเศษ แล้วยิ่งเป็นชุดชั้นในสีดำที่ไม่น่าเชื่อถือด้วยคุณผู้หญิงยิ่งต้องระวังรู้ ไหมค่ะ แม้ว่าชุดชั้นในสีดำจะใส่แล้วดูเซ็กซี่สวยมากเพียงใดแต่ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อ โรคมะเร็งได้ถ้าคุณผู้หญิงประมาณกันค่ะ ฉะนั้นแล้ววันนี้เอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) มีเรื่องราวของชุดชั้นในสีดำเสี่ยงโรคมะเร็งมาฝากกันในวันนี้ คุณผู้หญิงผู้รักสุขภาพทั้งหลายห้ามละเลยเด็ดขาดเลยนะค่ะ แล้วถ้าไม่อยากเสี่ยงกับโรคมะเร็งที่มาจากชุดชั้นในสีดำสีดำล่ะก็ตามเอ็นทรี เคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) มาความรู้จักกับเรื่อง "ชุดชั้นในสีดำ...เสี่ยงมะเร็ง!" กันเลยดีกว่าค่ะ เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณผู้หญิงกันทุกคนเลยนะค่ะ


ชุดชั้นในสีดำ เสี่ยงมะเร็ง


คุณรู้หรือไม่ว่า...ชุดชั้นในสีดำ...เสี่ยงมะเร็ง!

จากการศึกษาของนิตยสาร Öko-Test ในประเทศเยอรมนีที่ทำการทดสอบชุดชั้นในสีดำ 25 ตัว พบสารก่อมะเร็ง เนื่องจากชุดชั้นในสีดำบางยี่ห้อมีสารเคมีสีดำในปริมาณสูงซึ่งเป็นที่ต้อง สงสัยว่าจะเป็นตัวก่อมะเร็ง เพราะเมื่อผู้สวมใส่มีเหงื่อออกสารเคมีก็จะตกสีออกมาทำให้ผิวหนังได้รับสาร เคมีอันตรายและมันจะกระตุ้นให้เกิดมะเร็งได้

นอกจากสารเคมีสีดำก็ยังพบสารอันตรายที่ชื่อว่า Diethyhexylpthalate (DEHP) ซึ่งเป็นตัวยึดทรงชุดชั้นใน สารตัวนี้ติดอันดับในรายการสารอันตรายที่ทางสหภาพยุโรประบุไว้ เพราะเป็นสารก่อมะเร็งและเป็นสารต้องห้ามสำหรับของเด็กเล่นและผลิตภัณฑ์ทารก

แต่สาวๆ ที่มีชุดชั้นในสีดำก็อย่าเพิ่งตกใจจนต้องโยนชุดชั้นในสีดำทิ้ง ผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำว่า หากซื้อชุดชั้นในสีดำมาก็จะต้องซักล้างให้สะอาดเกลี้ยงเกลาก่อนใส่ทุกครั้ง

ขอขอบคุณข้อมูลวิธีการดูแลสุขภาพจาก lisa ขอขอบคุณรูปภาพจากอินเตอร์เน็ต