ปืน จิตวิทยา

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความหมายจิตวิทยา

❤ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยา

จิตวิทยา คือศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต) , กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์) , อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม



การขยายตัวทางจิตวิทยา


     ปฏิบัติการทดลองทางจิตวิทยาห้องแรก ถูกสร้างขึ้นโดย Wilhelm Wundt ในปี ค.ศ. 1879 ที่เมืองไลป์ซิก ประเทศเยอรมนี โดยมีการจัดตั้งกลุ่มจิตวิทยาขึ้น คือ กลุ่มโครงสร้างนิยม (Structuralism) การศึกษาจิตต้องศึกษาส่วนย่อย ๆ ที่ประกอบขึ้นมา ใช้วิธีการพื้นฐานทางจิตวิทยา คือ การสังเกตตนเอง หรือที่เรียกว่า การตรวจพินิจจิต (Introspection)

     ในปี ค.ศ. 1890 ได้มีการจัดตั้งกลุ่มจิตวิทยาขึ้นใหม่อีก คือ กลุ่มหน้าที่นิยม (Functionalism) นักจิตวิทยากลุ่มนี้เห็นว่า จิตวิทยาควรเป็นการศึกษาวิธีการที่คนเราใช้ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นวิธีการที่บุคคลนั้นพอใจ และเป็นการเพิ่ม ประสิทธิภาพของบุคคลนั้นด้วย นักจิตวิทยากลุ่มนี้ให้ความสนใจ ความรู้สำนึก (consciousness) เพราะความรู้สำนึกเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลเลือกกระทำพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ความรู้สำนึกเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน ไม่สามารถแยกวิเคราะห์เป็นส่วนย่อยได้ นักจิตวิทยากลุ่มนี้สนใจศึกษาสาเหตุของพฤติกรรมมากกว่าการศึกษาพฤติกรรมที่ปรากฏออกมาให้เห็น

     ในช่วงเวลาเดียวกัน ซิกมันด์ ฟรอยด์ ได้เสนอทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic theory) โดยมีวิธีการศึกษา จากการสังเกตและรวบรวมประวัติคนไข้ที่มารับการบำบัดรักษา ฟรอยด์เชื่อว่าความไร้สำนึกมีอิทธิพลต่อการแสดงออกของพฤติกรรม และเน้นถึงความต้องการทางเพศตั้งแต่วัยเด็ก




     ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 จอห์น บี วัตสัน ได้ก่อตั้ง กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavioralism) โดยเห็นว่า การตรวจพินิจจิตเป็นวิธีการที่ไม่ดีพอ การศึกษาจิตวิทยาควรจะหลีกเลี่ยงการศึกษาจากความรู้สำนึก แล้วหันไปศึกษา พฤติกรรมที่มองเห็นได้ เพื่อให้สามารถทำนายและควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ได้ และเน้นถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมว่ามี อิทธิพลต่อพฤติกรรมมากกว่าพันธุกรรมอีกด้วย

     ในช่วงเวลาเดียวกัน ประเทศเยอรมนีได้เกิดกลุ่มจิตวิทยาขึ้น ได้แก่ จิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์(Gestalt Psychology) แนวคิดของจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นว่า การทำงานของจิตเป็นการทำงานของส่วนรวม ดังนั้นจึงสนใจศึกษาส่วนรวมมากกว่าส่วน ย่อย แนวคิดนี้เริ่มมีบทบาทขึ้นเมื่อนักจิตวิทยาชาวอเมริกันเริ่มให้ความสนใจในปัญหาของการรับรู้ การคิดแก้ปัญหาและ บุคลิกภาพ จนนำไปสู่การเกิดขึ้นของกลุ่มจิตวิทยาการรู้การเข้าใจ (Cognitive psychology) ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลไกภายใน ที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมของบุคคล และต่อจากนั้นมา จิตวิทยาก็เป็นที่สนใจของบุคคลทั่วไปและนิสิตนักศึกษามาก ขึ้นเรื่อยๆ




สาขาวิชาจิตวิทยา

      1.จิตวิทยาคลีนิค (Clinical Psychology) ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพยากรณ์และการรักษาความผิดปกติของจิตวิทยา เช่น โรงพยาบาลจิตเวช คลีนิคให้คำปรึกษา ศูนย์สุขภาพ
      2.จิตวิทยาการให้คำปรึกษา (Counseling Psychology) นักจิตวิทยาการให้คำปรึกษาให้บุคคลมีการปรับตัวต่อปัญหาทางอารมณ์ หรือปัญหาส่วนตัว ส่วนมากจะทำงานในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย
      3.จิตวิทยาโรงเรียนและจิตวิทยาการศึกษา (Educational and School Psychology) มีหน้าที่ในการวิเคราะห์และปรับปรุงการศึกษาอย่างมีแบบแผน
      4.จิตวิทยาการทดลอง (Experimental Psychology) เป็นการศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์โดยทดลองผ่านสัตว์โดยการทำวิจัยในห้องทดลอง
      5.สรีระจิตวิทยา (Physiological Psychology) ได้ศึกษากระบวนการพื้นฐานเดียวกันกับนักจิตวิทยาการทดลองแต่นักสรีระวิทยาจะศึกษากระบวนการพื้นฐานว่าถูกควบคุมโดยระบบประสาทอย่างไร
      6.จิตวิทยาบุคลิกภาพ (Personality Psychology) สนใจความแตกต่างด้านพฤติกรรมที่มีปัจจัยจากพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อมว่ามีอิทธิพลต่อลักษณะทางบุคลิกภาพของบุคคล
      7.จิตวิทยาสังคม(Social Psychology) แสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมไม่ได้เป็นเพียงผลลัพธ์ของบุคลิกภาพแต่มีปัจจัยแวดล้อมอื่น โดยเฉพาะบุคคลแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการกระทำของบุคคล
      8.จิตวิทยาพัฒนาการ(Developmental Psychology) ให้ความสนใจในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบที่ปรากฏในบุคคลตลองช่วงชีวิตของบุคคลโดยศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา
      9.จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ (Industrial and Organizational Psychology) ให้ความสำคัญกับลักษณะต่าง ๆของพฤติกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำงาน





ประโยชน์ของจิตวิทยา
      1. ทำให้บุคคลมีความเข้าใจตนเองและผู้อื่น ทำให้สามารถปรับตัวให้อยู่ร่วมผู้อื่นได้
      2. ช่วยทำนายพฤติกรรมของบุคคอื่น
      3. นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ

ที่มา http://hlinzaii.50webs.com/j1.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น