ปืน จิตวิทยา

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

งานแนะแนวด้านการศึกษา / อาชีพ / ส่วนตัว

งานแนะแนวด้านการศึกษา / อาชีพ / ส่วนตัว

         งานแนะแนวเป็นงานบริการที่มุ่งให้ความช่วยเหลือนักศึกษาในด้านการพัฒนาตนเองโดยนำเอาความสามารถที่ตนเองมีอยู่มาใช้ในการพิจารณาอย่างมีเหตุผล สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง ตลอดจนรู้ถึงวิธีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีความสุขในชีวิต การแนะแนวนั้นเกิดขึ้นมาจากปัญหาและความต้องการต่างๆอาจมีลักษณะสัมพันธ์กันจนแยกจากได้ยาก ซึ่งจะมีลักษณะปัญหา 3 ประการ ดังนี้

         1.การแนะแนวการศึกษา (Educational Guidance)
                  การแนะแนวการศึกษาจะเริ่มตั้งแต่วันแรกของนักศึกษาที่เข้าสู่สถานศึกษา และดำเนินไปจนถึงการสิ้นสุดการเรียนเพื่อไปประกอบอาชีพและการศึกษาต่อในระดับสูง ประกอบด้วยกิจกรรม 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ กิจกรรมช่วยเหลือนักศึกษาด้านการเรียน คือ การให้ข้อสนเทศทางการเรียนการศึกษาต่อ การทำงานเพื่อหารายได้ระหว่างเรียน การติดต่อขอรับทุนทางการศึกษาวารสารและหนังสือทางราชการแนะแนวทางการศึกษา ประการที่สอง การช่วยเหลื่อนักศึกษาด้านการปรับตัว ส่งเสริมทางด้านสติปัญญา ตลอดจนความเข้าใจในเรื่องความสามารถของตนเองให้สามารถตัดสินใจเพื่อมุ่งความสำเร็จทางด้านการศึกษา ความสามารถทั่วไป ความถนัดเฉพาะ ค่านิยม การค้นหาข้อมูลส่วนบุคคลและนักศึกษาที่มีแนวโน้มของความเคลื่อนไหวด้านพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์

                  วัตถุประสงค์
                  1. เพื่อช่วยให้นักศึกษาได้รับข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการเรียนและสามารถเข้าใจคุณสมบัติของบุคคลที่จะศึกษาต่อ
                  2. เพื่อช่วยให้นักศึกษาสามารถปรับตนเองไห้เข้ากับการเรียนในแต่ละสาขาวิชา และวางแผนทางการศึกษาได้อย่างเหมาะสม

                  วิธีการขอรับบริการ
                  1. การติดตามผลจากระเบียนการเรียน
                  2. การให้คำปรึกษาแบบรายบุคคลและรายกลุ่มทางการศึกษา
                  3. การใช้แบบสอบถามปัญหาเกี่ยวกับการเรียน โดยใช้วิธีการสอบถามนักศึกษาสอบถามอาจารย์ที่ปรึกษา
                  4. การใช้แบบทดสอบความสมารถทางการเรียน
                  5. การจัดระบบอาจารย์ที่ปรึกษาหรือชั่วโมงโฮมรูม
                  6. การจัดแนะแนวหมู่โดยอภิปราย บรรยาย เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการศึกษา

         2. การแนะแนวอาชีพ(Vocational Guidance)
                  การแนะเนวอาชีพเป็นการให้ความช่วยเหลือนักศึกษา เกี่ยวกับการวางแผนและการตัดสินการเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพที่เหมาะสมกับความสามารถ ความถนัด ความสนใจและสภาพร่างกายของตน รวมทั้งเป็นการให้ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับสภาพและลักษณะของงาน คุณสมบัติที่จำเป็น การฝึกอบรมรายได้ สวัสดิการ ความมั่นคง ความก้าวหน้า สิ่งแวดล้อม ข้อดี ข้อเสีย การแสวงหางาน การสมัครงาน การปรับตัวให้เข้ากับงานและปฏิบัติตนให้มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

                  วัตถุประสงค์
                  1. เพื่อช่วยให้นักศึกษา มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพต่างๆที่มีอยู่ในท้องถิ่น และในโลกกว้าง
                  2. เพื่อให้ข้อมูลสารสนเทศแก่นักศึกษาเกี่ยวกับอาชีพที่นักศึกษาสนใจและเข้าใจในอาชีพนั้นๆอย่างลึกซึ้ง
                  3. เพื่อช่วยให้นักศึกษารู้จักวิธีการแสวงหางาน วิธีการสมัครงาน วิธีปรับตัวให้เข้ากับงานและวิธีการปฏิบัติตนให้มีความเจริญก้าวหน้าในการทำงาน

                  วิธีการขอรับบริการ
                  1. การให้นักศึกษาทำแบบทดสอบต่างๆเพื่อดูความสามารถ จุดเด่น จุดด้อย จุดอ่อนหรือบุคลิกภาพของนักศึกษา เกี่ยวกับอาชีพ
                  2. การให้คำปรึกษาแบบรายบุคคล และรายกลุ่มเกี่ยวกับอาชีพ
                  3. การจัดให้มีสารสนเทศทางอาชีพ

         3. การแนะแนวส่วนตัวและอาชีพ ( Personal – Social Guidance) 
                  การแนะแนวส่วนตัวและสังคมเป็นการช่วยเหลือให้มีชีวิต หรือความเป็นอยู่อย่างสมบูรณ์ มีความเจริญทั้งร่างกายและจิตใจ มีความเข้าใจตนเอง มีอารมณ์ที่มั่นคง มีความสามารถที่ปรับตัวให้เข้ากับสังคมร่วมกันอย่างมีความสุข รู้จักบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นหรือสังคมได้ มีความสามารถในการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ นอกจากนี้ทำให้การศึกษามีการพัฒนาตนเองเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะไม่เป็นบุคคลที่จะต้องดำเนินชีวิตด้วยตนเอง

                  วัตถุประสงค์
                  1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถวางแผนชีวิตให้สอดคล้องกับจุดหมายของตนเองได้
                  2. เพื่อช่วยพัฒนาความสามารถของนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ เป็นไปในทางสร้างสรรค์ต่อการพัฒนาจุดหมายของชีวิต
                  3. เพื่อช่วยให้นักศึกษามีความเจริญงอกงามในด้านความสามารถที่จะนำตนเองได้
                  4. เพื่อช่วยให้นักศึกษาได้เข้าใจสภาพสังคมซึ่งจะเป็นผลทำให้สามารถปฏิบัติตนได้ดีขึ้นในสังคมและสามารถอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุข

                  วิธีการขอรับบริการ
                  1. การให้นักศึกษาทำแบบสอบถามหรือแบบสำรวจเพื่อให้รู้จักตนเองในด้านต่างๆเช่น ความสนใจ การตัดสินใจ ความต้องการและบุคลิกภาพ
                  2. การรวบรวมข้อมูลรายบุคคลด้วยวิธีการต่างๆหลายวิธีอย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆและจดบันทึกทุกครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น