ปืน จิตวิทยา

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การแนะแนวเบื้องต้น.พนม ลิ้มอารีย์

                                                                           การแนะแนว 
การแนะแนวเบื้องต้น.พนม ลิ้มอารีย์. หน้าที่ 3 – 16 .2548.
         การแนะแนวเป็นวิชาการที่เกิดขึ้นใหม่ แม้ว่าจะมีอายุเกือบหนึ่งร้อยปีแล้วก็ตาม แต่ถ้าเปรียบเทียบกับศาสตร์แขนงอื่นๆ กล่าวได้ว่าได้วิชาการแนะแนวมีอายุน้อยกับศาสตร์แขนงอื่นๆ ไม่ว่าวิชาการที่ศาสตร์    บริสุทธิ์ เช่น เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ หรือ ศาสตร์ทางด้านสังคม เช่น ภูมิศาสตร์ สังคมวิทยารัฐศาสตร์ หรือแม้แต่ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม ซึ่งได้แก่ จิตวิทยา เป็นต้น
        สำหรับในประเทศไทย วิชาการแนะแนวยิ่งมีอายุน้อยมาก คือมีอายุประมาณ 53 ปี เท่านั้นโดยเริ่มนำเข้าไปใช้ในโรงเรียนเป็นการทดลองครั้งแรกเมื่อปี พ. ศ. 2469 ที่โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์จังหวัดฉะเชิงเทรา
       แต่วิชาการแนะแนวก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นแขนงวิชาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาบุคคลและประเทศชาติเป็นอย่างมาก ได้รับการยกย่องว่าเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่มีปรัชญาจุดมุ่งหมาย กระบวนการจรรยาบรรณ และการวิจัยที่เป็นของตนเองโดยเฉพาะ และผู้ที่จะกอบอาชีพเป็นนักแนะแนวจำเป็นจะต้องได้รับการฝึกฝนอบรมมาโดยเฉพาะเป็นระยะเวลาเวลายาวนานพอสมควรจึงสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นนักแนะแนวได้
 ที่มาของคำว่าการแนะแนว
       การแนะแนวเป็นศัพท์บัญญัติทางการศึกษา ซึ่งบัญญัติมาจากคำว่า Guidance กับคำว่า Counseling แต่คำว่าศัพท์ทั้งสองคำนี้มีความหมายแตกต่างกัน ดังนั้นปัจจุบันคำว่า Guidanceจะแปลว่า การแนะแนว ส่วนคำว่าCounselingจะแปลว่า การให้คำปรึกษา
ความหมายของการแนะแนว
      การแนะแนวสามารถให้ความหมายได้ 3 นัย ด้วยกันคือ
1.              ความหมายตามรูปศัพท์ การแนะแนวหมายถึง การชี้แนะการชี้ช่องทางให้ การบอกแนวทางให้ทางให้ เพื่อช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาตัดสินใจได้ แต่มิใช่การแนะนำ ( Advise ) เพราะการแนะนำนั้นผู้ให้ความช่วยเหลือจะหน้าที่เป็นผู้เลือก หรือทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจให้ ส่วนการแนะแนวนั้นผู้ให้ความช่วยเหลือหรือนักแนะแนวไม่ได้ ทำหน้าที่เป็นผู้เลือกหรือทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจให้แต่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้ข้อมูลต่างๆ แล้วให้ผู้ที่มีปัญหาทำหน้าที่เลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง
2.              ความมายในแง่กระบวนการ ( Process ) การแนะแนว หมายถึง กระบวนการช่วยเหลือ      บุคคลให้เข้าใจตนเองและโลกของตน
จากความหมายของการแนะแนวในแง่กระบวนการนี้มีสิ่งที่จะต้องพิจารณาอยู่ 4 ประเด็น คือ
ประการแรก  กระบวนการ ( Process ) หมายถึง ปรากฏการณ์ซึ่งแสดงการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา และคำว่ากระบวนการการแสดงให้รู้ว่า การแนะแนวมิใช่เหตุการณ์เดียวกัน แต่ที่เกี่ยวข้องกับชุดของการกระทำหรือลำดับขั้น ซึ่งก้าวหน้าไปเรื่อยๆ สู่เป้าหมาย
ประการที่สอง  การช่วยเหลือ ( Helping ) หมายถึง การช่วย การอนุเคราะห์ การสงเคราะห์การให้ประโยชน์ อาชีพที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือ   ( Helping Occupations ) เป็นจำนวนมาก เช่น จิตแพทย์นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ต่างมีวัตถุประสงค์สำคัญอยู่ที่การป้องกัน ( Prevention ) การซ่อมเสริม ( Remediation ) และการเยียวยาแก้ไข( Amelioration ) ความยุ่งยากและความยากลำบากของมนุษย์
ประการที่สาม  บุคคล ( Individuals )  หมายถึงนักเรียนที่อยู่ในสถานศึกษา และยิ่งไปกว่านั้นการแนะแนวจัดว่าเป็นการช่วยเหลือที่จัดให้กับนักเรียนปรกติ ( Normal ) ซึ่งต้องการความช่วยเหลือ สำหรับพัฒนาการที่เป็นปรกติ
ประการสุดท้าย การเข้าใจตนเองและโลกของตน ( Understand themselves and their world ) หมายถึงการที่บุคคลรู้ว่าตนเป็นใคร รู้ถึงเอกลักษณ์ของตน ( Personal Indentity )  รับรู้ธรรมชาติของตนอย่างกระจ่าง มีประสบการณ์ เกี่ยวกับโลกของตน สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องและผู้คนที่ตนมีปฏิสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งและสมบูรณ์
3.              ความหมายในแง่บริการ (Servicc) การแนะแนวเป็น บริการอย่างหนึ่งที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นมาเพื่อให้ความช่วยเหลือนักเรียนทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน เพื่อช่วยให้นักเรียนได้พัฒนาความรู้ความสามารถของตนได้อย่างเต็มที่ สามารถเลือกและตัดสินใจได้ฉลาดแก้ปัญหาต่างๆ ของตนได้อย่างเหมาะสม สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี และสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
จากความหมายของการแนวแนวในแง่บริการ มีสิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือในการจัดโครงการ แนะแนวขึ้นในโรงเรียนนั้นมีบริการต่างๆ ที่จะต้องจัดเพื่อให้บริการแก่นักเรียนอยู่หลายบริการ แต่พอจะจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ บริการหลัก และบริการเสริม
บริการหลัก จัดว่าเป็นบริการที่สำคัญของการจัดโครงการบริการแนะแนวในโรงเรียนซึ่งเป็นบริการที่จะขาดเสียมิได้ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 5 บริการ คือ
1.              บริการสำรวจนักเรียนเป็นรายบุคคล (Individual Inventory Service)
2.              บริการสนเทศ (Information Service)
3.              บริการให้คำปรึกษา (Counseling Service) เป็นหัวใจของการแนะแนว
4.              บริการจัดวางตัวบุคคล (Placement Service)
5.               บริการติดตามผล
ในการจัดโครงการบริการแนะแนวขึ้นในโรงเรียน ถ้าจะให้บังเกิดผลดีมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง จำเป็นจะต้องจัดให้มีบริการหลักทั้ง 5 บริการนี้อย่างครบท้วน
บริการเสริม หมายถึงบริการที่ไม่ได้เกี่ยวข้องการแนะแนวโดยตรง แต่เป็นบริการที่จะ                                              ช่วยให้โครงการแนะแนวของโรงเรียนได้ผลดีมากขึ้น ซึ่งได้แก่บริการต่างๆ ดังต่อไปนี้
1.              บริการจัดหาให้และให้ทุน
2.              บริการอาหารกลางวัน
3.              บริการสอนซ่อมเสริม
4.              บริการสุขภาพ
5.              บริการที่พัก
จะเห็นได้ว่าบริการต่างๆ ที่จัดเป็นบริการเสริมของโครงการบริการแนะแนวในโรงเรียนนั้นเป็นบริการที่จะช่วยจัดปัญหาต่างๆ ของนักเรียนได้มาก สมควรที่ทางโรงเรียนจะได้จัดให้มีขึ้นในโรงเรียนของตน ควบคู่กับการจัดบริการแนะแนว เพราะจะช่วยให้ความช่วยเหลือนักเรียนของทางโรงเรียนเป็นไปอย่างได้ผลดีและสัมฤทธิผลอย่างแท้จริง

ความสำคัญของการแนะแนว
  ปัจจุบันการแนะแนวได้เข้ามามีบทบาทในการศึกษามากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจาก การแนะแนวมีจุดมุ่งหมายและหลักการที่สอดคล้องหรือเหมือนกันกับจุดมุ่งหมายของการศึกษา คือ การช่วยให้เยาวชนของชาติเป็นผู้ที่คิดเป็น โดยเน้นให้ผู้เรียนได้รับการส่งเสริมพัฒนาในทุกๆ ด้าน มุ่งสนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียน ดังจะเห็นได้จากหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนต้นพุทธศักราช 2521 และหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 ได้มีกำหนดให้มีกิจกรรมแนะแนวอย่างน้อย 1 คาบต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 และยังได้กล่าวไว้หลักเกณฑ์การใช้หลักสูตรว่า โรงเรียนต้องจัดให้มีบริการแนะแนวส่วนตัว แนะแนวการเรียนและการศึกษาต่อ เพื่อใช่ให้แก้ปัญหาให้นักเรียนสามารถเล่าเรียนได้อย่างมีประสิทธิผล
นอกจากนี้กิจกรรมแนะแนวที่จัดขึ้นในโรงเรียนมัธยมศึกษานั้น หลักสูตรยังได้ระบุอีกว่ากิจกรรมแนะแนวที่จัดขึ้นนี้จะต้องครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน ของการแนะแนว คือ การแนะแนวการศึกษาการแนะแนวอาชีพ การแนะแนวบุคลิกภาพและการปรับตน โดยเฉพาะด้านประพฤติ
  การที่วิชาการแนะแนวหรือปัจจุบันนี้นิยมเรียกว่า จิตวิทยาการแนะแนวเข้ามามีบทบาทในการศึกษามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ก็เนื่องจากเยาวชนเป็นผู้ที่มีความสำคัญต่อประเทศชาติ เพราะจะเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต ซึ่งจะต้องรับผิดชอบประเทศชาติต่อไป จึงสมควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกายสติปัญญา อารมณ์สังคมและจิตใจ เพื่อช่วยให้เยาวชนเหล่านั้นสามารถปรับตัวอยู่ในสักคมที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลาได้อย่างมีความสุข และเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นที่พึงประสงค์ของประเทศชาติ
ความมุ่งหมายขอกการแนะแนว
ความมุ่งหมายของการแนะแนวสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
1.ความมุ่งหมายทั่วไป
2.ความมุ่งหมายเฉพาะ
ความมุ่งหมายทั่วไป หมายถึง ความมุ่งหมายของการแนะแนวโดยส่านรวมนั่นคือ การ
แนะแนวไม่ว่าจะจัด ณ สถานที่ใดก็ตามย่อมจะมีความมุ่งหมายทั่วไปเหมือนกัน หรืออาจจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหน้าที่ของการแนะแนวก็ได้ ซึ่งมี 3 ประการด้วยกัน
         1.เพื่อป้องกันปัญหา ( Prevention ) นั้นคือการแนะแนวมุ่งป้องกันไม่ให้นักเรียนเกิดปัญหาหรือความยุ่งยากในการดำเนินชีวิตของตนเพราะปัญหาและความยุ่งยากต่างๆ นั้น สามารถป้องกันได้และการปล่อยให้นักเรียนเกินปัญหาขึ้นมาแล้วค่อยตามแก่ไขช่วยเหลือภายหลังนั้นทำได้ยากและต้องใช้เวลานาน ในบางกรณีอาจจะแก้ไขไม่ได้อีกด้วย
          2.เพื่อแก้ไขปัญหา ( Curation ) นั้นคือ การแนะแนวมุ่งจะให้ความช่วยเหลือนักเรียนในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตน เพราะถ้าปล่อยให้นักเรียนประสบปัญหาโดยไม่ให้ความช่วยเหลือแล้ว นักเรียนย่อมจะไม่สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างปรกติสุขได้ และในบางครั้งอาจจะมีการปรับตัวที่ผิดๆ ทำให้เกิดปัญหาเพิ่มมากยิ่งขึ้น
         3.เพื่อส่งเสริมพัฒนา ( Development ) นั่นคือการแนะแนวมุ่งจะให้การส่งเสริมนักเรียนทุกคนให้เกิดความเจริญงอกงามมีพัฒนาการในด้านต่างๆ อย่างสมบูรณ์ เพื่อให้นักเรียนแต่ละคนจะได้รับการส่งเสริมและแสดงความสามารถในด้านต่างๆ ของตนออกมาอย่างเต็มที่ โดยไม่มีสิ่งใดมาเป็นอุปสรรคขัดขวางความเจริญก้าวหน้าและพัฒนาการของนักเรียน
           ความมุ่งหมายเฉพาะ หมายถึง ความมุ่งหมายของการแนะแนวที่สถานศึกษาซึ่งจัดให้มีการบริการแนะแนวเป็นผู้กำหนดขึ้นมา เพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญา เป้าหมายหลักสูตร และสภาพสังคมของสถานศึกษานั้นๆ แต่อย่างไรก็ตามความมุ่งหมายเฉพาะของการแนะแนวสำหลับสถานศึกษาแต่ละแห่งจะคล้ายคลึงกันไม่แตกต่างกันมากนัก เช่น
           1. เพื่อช่วยให้นักเรียนแต่ละคนได้รู้จักตนเองอย่างถ่องแท้ ( Self-Understanding ) คือการช่วยให้นักเรียนรู้ถึงความต้องการ ความคิด ความสามารถ ความถนัด และข้อจำจัดต่างๆ ของตน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเลือกแนวทางการศึกษา อาชีพ การดำเนินชีวิตของนักเรียน
          2. เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักปรับตัว  ( Self-Adjustment ) ให้เหมาะสมกับตนเองและสภาพแวดล้อมคือ การช่วยให้นักเรียนรู้จักวิธีปฏิบัติตนเพื่อที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสมและเป็นสุข
          3. เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักนำตนเอง ( Self-Direction ) คือการช่วยให้นักเรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง รู้จักใช้สติปัญญาความสามารถของตนเองแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างฉลาดและเหมาะสม สามารถวางแผนการชีวิตในอนาคต และสามารถนำตนเองไปสู่เป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
         4. เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักใช้วิจารณญาณคาดการณ์ล่วงหน้า สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น และรู้จักหลีกเลี่ยงและป้องกันสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นโดยกะทันหัน
           5. เพื่อส่งเสริมให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูกับนักเรียน เพราะการมีสัมพันธภาพที่ดีจะช่วยให้การบริหารงานของโรงเรียนดำเนินไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
          6. เพื่อช่วยฝึกในเรื่องประชาธิปไตยให้แก่เยาวชนของชาติ เพราะการฝึกให้นักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของตน และมีการปฏิบัติจริง จะช่วยให้นักเรียนเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ
          7. เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน ระหว่างโรงเรียน บ้าน และชุมชน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมพัฒนานักเรียนในที่สุด
ประเภทของการแนะแนว
              การแนะแนวสามารถจำแนกได้หลายประเภทตามลักษณะของปัญหาที่นักเรียนต้องการความช่วยเหลือจากทางโรงเรียน เช่น ถ้านักเรียนมีปัญหาทางด้านการเรียน การศึกษาต่อ การอ่านหนังสือการช่วยเหลือที่ทางโรงเรียนจัดไห้กับนักเรียนเพื่อขจัดปัญหาเหล่านี้ก็เรียนกว่า การแนะแนวการศึกษาถ้านักเรียนมีปัญหาเกี่ยวกับการเลือกอาชีพ การหางาน การปรับตัว ให้เข้ากับงานการช่วยเหลือที่ทางโรงเรียนจัดให้ก็เรียกว่า การแนะแนวอาชีพ ถ้านักเรียนมีปัญหาเกี่ยวกับการสุขภาพอนามัยการช่วยเหลือของทางโรงเรียนเรียกว่า การแนะแนวสุขภาพ ถ้านักเรียนมีปัญหา เกี่ยวกับการแสดงออกเกี่ยวกับการคบเพื่อน เกี่ยวกับมารยาทสังคมการช่วยเหลือของทางโรงเรียนก็เรียกว่าการแนะแนวด้านสังคม เป็นต้น
                จะเห็นได้ว่าการแบ่งประเภทของการแนะแนวนั้น สามารถแบ่งได้มากมายตามลักษณะปัญหาของนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือ แต่ก็พอจะสรุปแบ่งกันแนะแนวออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 3 ประเภท คือ 
1.การแนะแนวการศึกษา
2.การแนะแนวอาชีพ
3.การแนะแนวด้านส่วนตัวและสังคม
               การแนะแนวการศึกษา ( Educational Guidance ) หมายถึง กระบวนการให้ความช่วยเหลือนักเรียนในเรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษาโดยเฉพาะ เช่น แนวทางการศึกษาต่อ การเลือกโปรแกรมการเรียน การลงทะเบียน หลักสูตร การเรียนการสอน การวัดผลประเมินผลของโรงเรียน การค้นคว้าเขียนรายงาน การอ่านหนังสือ การเตรียมตัวสอบ การสร้างสมาธิในการเรียน การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
             การให้บริการแนวแนวการศึกษา จะช่วยให้นักเรียนรู้จักเลือกและปรับตัวได้อย่างเหมาะสมในเรื่องการศึกษาเล่นเรียนของตน ทั้งยังช่วยให้นักเรียนสามารถวางแผนการศึกษาต่อของตนได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย
        จุดมุ่งหมายของการแนะแนวการศึกษา
             1.เพื่อช่วยให้นักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนการสอนการวักผลประเมินผล ตลอดจนระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ของโรงเรียนเพื่อที่นักเรียนจะได้ปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง
             2.เพื่อช่วยให้นักเรียนได้รูจักและเข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนสามารถตัดสินใจเลือกแผนการเรียนได้อย่างถูกต้องตรงกับความเข้าใจ ความต้องการ ความถนัดและความสามารถของตน
             3.เพื่อช่วยให้นักเรียนได้รับข้อสนเทศทางการศึกษาต่อในด้านต่างๆ คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าศึกษา วิธีการเข้าการศึกษา จำนวนที่รับ ค่าใช้จ่ายในการศึกษาเล่าเรียนและระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา เป็นต้น
             4.เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ทางโรงเรียนจักขึ้นได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้ความสามารถพิเศษของนักเรียนปรากฏเด่นชัดและได้รับการส่งเสริมพัฒนาอย่างเต็มที่
             5.เฟื่อช่วยให้นักเรียนได้ประสบความสำเร็จในการศึกษาตามแผนการเรียนของตน
             การแนะแนวอาชีพ ( Vocational Guidance ) หมายถึงกระบวนการให้ความช่วยเหลือนักเรียนเกี่ยวกับการวางแผนและการตัดสินใจเลือกอาชีพ เพื่อช่วยให้นักเรียนได้คนพบอาชีพที่เหมาะสมกับความสามารถ ความถนัด ความสนใจ และสภาพร่างกายของตน
        การให้บริการแนะแนวอาชีพ จะช่วยให้นักเรียนได้ค้นพบและตัดสินใจเลือกอาชีพได้อย่างถูกต้องซึ่งจะเป็นผลให้นักเรียนมีความพึงพอใจในงานของตน และมีชีวิตการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เป็นการช่วยให้ทรัพยากรมนุษย์ได้รับการส่งเสริมพัฒนาให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติอย่างแท้จริง
      จุดมุ่งหมายของการแนะแนวอาชีพ
          1. เพื่อช่วยให้นักเรียนได้มองเห็นความสำคัญของอาชีพ
         2. เพื่อช่วยให้นักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพต่างๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น และในโลกกว้าง
           3. เพื่อช่วยให้นักเรียนได้ตระหนักถึงอิทธิพลของสิ่งต่างๆ เช่น ความถนัด ความสนใจ บุคลิกภาพระดับสติปัญญา สภาพร่างกาย ที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกอาชีพ
          4. เพื่อให้ข้อสนเทศแก่นักเรียนเกี่ยวกับอาชีพที่นักเรียนสนใจ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนได้มีความเข้าใจในอาชีพนั้นๆ ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
          5. เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักวิธีการแสวงหางาน วิธีการสมัครงานวิธีการปรับตัวให้เข้ากับงานและวิธีการปฏิบัติตนให้มีความเจริญก้าวหน้าในการทำงาน
         6. เพื่อช่วยให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพที่สุจริตทุกอาชีพ
   การแนะแนวด้านส่วนตัวและสังคม ( Personal and Social Guidance ) หมายถึง กระบวนการให้ความช่วยเหลือนักเรียน ในเรื่องที่นอกเหลือจากด้านการศึกษาและอาชีพ เป็นการช่วยให้นักเรียนเกิดความเข้าใจตนเองและสภาพแวดล้อม ทำให้สามารถมีชีวิตและปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
 จุดมุ่งหมายของการแนะแนวด้านสวนตัวและสังคม
          1. เพื่อช่วยให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะและบุคลิกภาพที่เหมาะสมเป็นที่ชื่นชมแก่ผู้พบเห็น
          2. เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักตนเอง ยอมรับความจริงเกี่ยวกับตนเอง และรู้จักปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของตนให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
          3. เพื่อช่วยให้นักเรียนได้มีความเข้าใจผู้อื่น ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนมีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี ทำให้มีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
         4. เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักรักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตของตนเองให้ดีอยู่เสมอเพื่อจะได้ไม่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตของตน
         5. เพื่อช่วยให้นักเรียนเป็นผู้มีเจตคติ ค่านิยมและจริยธรรมที่ถูกต้อง ไม่ประพฤติปฏิบัติตนไปในทางที่เสื่อมเสีย
         6. เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างและใช่จ่ายเงินให้เกิดประโยชน์แก่ตนอย่างแท้จริง
        ในการแบ่งประเภทของการแนะแนวออกเป็น 3 ประเภท คือ การแนะแนว การศึกษา การแนะแนวอาชีพ และการแนะแนวด้านส่วนตัวและสังคม นั้น เป็นการจำแนกประเภทตามลักษณะของข้อมูลหรือข้อสนเทศ ที่ทางโรงเรียนนำมาให้การแนะแนวแก่นักเรียน แต่การแนะแนวทั้ง 3 ประเภทนี้ก็มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เช่น การช่วยเหลือนักเรียนในการวางแผนเกี่ยวกับอาชีพ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องเกี่ยวข้องกับการศึกษาของนักเรียน และยังต้องศึกษาองค์ประกอบด้านส่วนตัวและสังคมของนักเรียนพร้อมกันด้วยการเพ่งเล็งให้การแนะแนวแก่นักเรียนเพียงด้านเดียว จะไม่ช่วยให้นักเรียนเกิดความเจริญงอกงาม และมีพัฒนาการสมบูรณ์ครบท้วนอย่างแท้จริง
ปรัชญาของการแนะแนว
                 ปรัชญา ก็คือแนวความคิดหรือทัศนะความคิดซึ่งได้รับการพิจารณาไตร่ตรองแล้วว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า มีประโยชน์สมควรยึดถือเป็นหลักในการดำเนินงาน
                 ดังนั้น ปรัชญาของการแนะแนว หมายถึง แนะแนวความคิดหรือทัศนะความคิดเห็น ซึ่งได้รับการพิจารณาไตร่ตรองแล้วว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามีประโยชน์ สมควรยึดถือเป็นหลักในดำเนินงานแนะแนวซึ่งมีอยู่ 7 ประการด้วยกัน คือ
             1.แนวความคิดเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Differences) จัดว่าเป็นแนวความคิดหลักของการแนะแนว เพราะเป้าหมายสูงสุดของการแนะแนวก็คือการส่งเสริมความแตกต่างระหว่างบุคคล   การช่วยให้บุคคลแต่ละคนได้มีความเจริญงอกงามและพัฒนาการอย่างมีบูรณาการสุดขีดความสามารถของตน
              2.แนวความคิดเรื่องทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources) ในทางการแนะแนวมีความคิดเห็นว่ามนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงยิ่ง   เพราะสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ   ไม่ว่าจะมีคุณค่ามากสักเพียงใดก็ตามล้วนเกิดจากคิดค้นสร้างขึ้นมาโดยมนุษย์ทั้งสิ้น   ดังนั้น   สถาบันต่าง ๆ ในสังคมไม่ว่าจะเป็นบ้าน  โรงเรียน   วัด  หน่วยงานของรัฐบาล  ตลอดจนหน่วยงานของเอกชนควรจะได้ช่วยส่งเสริมพัฒนาเยาวชนของชาติให้มีความเจริญงอกงาม และมีพัฒนาการสูงขึ้นในทุก ๆ ด้าน  ทั้งนี้เพื่อเป็นการสงวนไว้ซึ่งทรัพยากรมนุษย์และเพื่อที่จะได้ใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
              3. แนวความคิดเรื่องความร่วมมือ (Cooperation) ไม่ใช่การบังคับ (Compulsion) ในทางการแนะแนวมีความคิดเห็นว่าการให้ความช่วยเหลือของการแนะแนวจะต้องเป็นไปในลักษณะของการร่วมมือกันระหว่างผู้ให้ความช่วยเหลือและผู้ให้ความร่วมช่วยเหลือและผู้รับความช่วยเหลือ   จะไม่ใช้วิธีการบังคับและจะเน้นที่การให้บุคคลผู้มีปัญหาได้ปลดปล่อยแรงจูงใจภายในของตนออกมา   และการช่วยเหลือนี้จะต้องช่วยให้บุคคลผู้มีปัญหาเป็นผู้ที่สามารถช่วยตัวเองได้ในที่สุด (Help him to help himself)
             4. แนวความคิดเรื่องคุณค่า (Worth) และให้เกียรติ (Dignity) ของบุคคล นั่นคือในทางการแนะแนวมีความคิดเห็นว่ามนุษย์ทุกคนเป็นผู้ที่มีคุณค่าและมีเกียรติเท่าเทียมกัน ไม่ควรได้รับการดูถูกเหยียดหยามไม่ว่าเขาจะเป็นผู้ที่มีปัญหาหรือไม่ก็ตาม   และทุกคนก็มีสิทธิ์และมีอิสระภาพในการเลือกเป้าหมายชีวิตของคน (Freedom to Choose)
             5. แนวความคิดเรื่องพฤติกรรมย่อมมีสาเหตุ (Cause) และจุดมุ่งหมาย (Purpose)   ในทางการแนะแนวมีความคิดเห็นว่าพฤติกรรมทุกพฤติกรรมย่อมมีสาเหตุและจุดมุ่งหมาย   ดังนั้นในการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ผิดปรกติหรือเบี่ยงเบนไปของนักเรียน   จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาถึงสาเหตุแห่งความผิดปรกตินั้น ๆ เสียก่อน  เมื่อค้นพบสาเหตุแล้วย่อมจะสามารถให้ความช่วยเหลือได้ถูกจุดและทำได้ง่าย
             6. แนวความคิดเรื่องพัฒนาการด้านส่วนตัว (Personal Development) นั่นคือในการแนะแนวมีความคิดเห็นว่างานของการศึกษาเป็นการพัฒนามนุษย์ทางด้านสมองหรือสติปัญญาเท่านั้น    แต่การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์จำเป็นจะต้องมีการพัฒนาการด้านส่วนตัวด้วย   ซึ่งถือว่าเป็นงานของการแนะแนวโดยเฉพาะเป็นการช่วยให้มนุษย์ได้รู้จักและเข้าใจตนเอง
           7. แนวความคิดเรื่องการแนะแนวเป็นกระบวนการทางการศึกษาที่มีลำดับขั้น  และต่อเนื่อง (Continuous)  นั่นคือในทางการแนะแนวมีความคิดเห็นว่าการแนะแนวมิได้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว   หรือเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขั้น ณ จุดใดจุดหนึ่ง   แต่เป็นกระบวนการที่มีลำดับขั้นตอนและต่อเนื่องตั้งแต่ระดับประถมศึกษา   จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาและก้าวเข้าสู่โลกของงาน (World of Work)
หลักการที่สำคัญของการแนะแนว (Basic Principles of Guidance)
          การจัดบริการแนะแนวในโรงเรียน   ถ้าต้องการให้ได้ดีมีประสิทธิภาพจำเป็นจะต้องปฏิบัติตามหลักการที่สำคัญต่อไปนี้      
        1. การจัดบริการแนะแนวโรงเรียนจะต้องมุ่งให้ความช่วยเหลือนักเรียนทุกคน   เนื่องจากนักเรียนทุกคนย่อมต้องการความช่วยเหลือจากโรงเรียนของตน   และเป็นการให้บริการด้วยความเสมอภาคเป็นธรรม และเท่าเทียมกัน
          2.การจัดบริการแนะแนวจะต้องกระทำอย่างเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง   คือ   จัดอย่างเป็นระบบมีระเบียบแบบแผน   มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันไปเป็นลูกโซ่ทุกขั้นตอน   จนกระทั่งบุคคลที่ได้รับความช่วยเหลือสามานำตนเองได้   ช่วยตนเองได้
          3.ผู้ทำงานแนะแนวจะต้องยอมรับในความเป็นเอกัตบุคคล (Individual) ของนักเรียน   นั่นคือจะต้องมีความเข้าใจและยอมรับในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Differences)   ซึ่งมีประเด็นสำคัญ   ดังนี้
            3.1 บุคคลแต่ละบุคคลย่อมมีลักษณะเฉพาะของตนเองจะไม่เหมือนคนอื่น   ไม่ว่ารูปร่าง   สติปัญญา   ความสามารถ   อุปนิสัย   ค่านิยม   ความสนใจ
            3.2 บุคคลแต่ละคนย่อมมีพัฒนาการไปตามลักษณะเฉพาะของตน   อย่างมีลำดับขั้นตอนและต่อเนื่อง
            3.3 บุคคลแต่ละคนย่อมมีกระบวนการแห่งการเปลี่ยนแปลงตน   ตามประสบการณ์ที่ตนเองประสบมาและตามแนวทางหรือแผนการของตนที่วางไว้สำหรับอนาคต
          4. การแนะแนวเป็นงานที่วางอยู่บนพื้นฐานกระบวนการการพฤติกรรมของบุคคลและเกี่ยวข้องกับพัฒนาการของมนุษย์   ดังนั้นการแนะแนวจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องมือและกลวิธีต่าง ๆ ทั้ง ๆ ที่เป็นแบบทดสอบและไม่ใช่แบบทดสอบ   เพื่อจะได้เข้าใจบุคคลแต่ละคน   และเพื่อช่วยให้บุคคลได้เข้าใจตนเอง   เพื่อจะได้สามารถควบคุมพัฒนาการส่วนตัวของนักเรียนได้
          5. ผู้ทำงานด้านการแนะแนวจะต้องเคารพในสิทธิและเสรีภาพของบุคคลแต่ละคน  นั่นคือจะต้องอยมรับว่านักเรียนแต่ละคนมีอิสรภาพที่จะเลือกแนวทางชีวิตของตนเอง   การเลือกและการตัดสินใจของนักเรียนควรเกิดจากการใช้วิจารณญาณของนักเรียนเอง   ไม่ใช่การบังคับ
          6. การแนะแนวถือว่าเป็นส่วนของกระบวนการของการศึกษา   ดังนั้นการแนะแนวควรจะสอดแทรกอยู่ในกระบวนการเรียนการสอนของโรงเรียน   เพื่อช่วยให้นักเรียนแต่ละคนได้มีพัฒนาตนเองทุกด้านอย่างมีบูร ณ า การ (Integration)
         7. การแนะแนวที่มีประสิทธิภาพ  ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นแนะแนว (Counselor)  จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการศึกษาอบรมทางการแนะแนวมาโยเฉพาะ   มีทั้งความรู้ (Knowledge)   และทักษะ   (Skills) ที่เหมาะสมและมีการจัดดำเนินการแนะแนวอย่างมีระบบ (Systematical Guidance)
           8. ผู้ทำงานด้านการแนะแนวจะต้องเป็นผู้ที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดี   มีความเป็นประชาธิปไตย   เป็นผู้ที่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น   และจะต้องเป็นผู้ที่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
            9. การจัดบริการแนะแนวจะได้ผลดีมีประสิทธิภาพ   จะต้องเกิดจากความร่วมมือและความสมัครใจจากบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียน   และนักเรียนผู้มารับบริการจะต้องมาด้วยความเต็มใจให้ความร่วมมือด้วย
            10. ผู้ทำงานด้านการแนะแนวจะต้องเป็นผู้ที่สามารถเก็บรักษาความลับได้   เพราะถ้าเป็นผู้ที่ไม่สามารถเก็บรักษาความลับ   ก็จะทำให้นักเรียนเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัย   ทำให้ขาดความไว้วางใจและไม่ยินดีที่จะมารับความช่วยเหลือ
สาเหตุที่ทำให้จำเป็นต้องมีการแนะแนว
        การที่ทางโรงเรียนมีความจำเป็นที่ต้องจัดให้มีบริการแนะแนวขึ้นในโรงเรียน   ก็เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่นักเรียนในการปรับตัว   เนื่องจากสภาพสังคมในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว   การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นได้แก่
             1.การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ  เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจค่อนข้างระรัดตัว   เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการครองชีพสู.   เป็นเหตุให้ทั้งบิดามารดาต้องออกไปประกอบอาชีพ   เพื่อให้มีรายได้เพียงพอที่จะช่วยครอบครัวอยู่อย่างมีความสุข   ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงและความเป็นไปทางบ้าน  ทำให้บิดามารดาไม่มีเวลาที่จะดูแลบุตรหลานของตนได้อย่างใกล้ชิดเช่นแต่ก่อน   เด็กจึงมีอิสระมากขึ้นในการคบเพื่อน   หรือกระทำกิจกรรมต่าง ๆ โรงเรียนจึงมีความจำเป็นต้องจัดให้มีการแนะแนวขึ้น   เพื่อให้ความช่วยเหลือเด็กเหล่านี้ได้รู้จักเลือกคบเพื่อน   รู้จักใช้เวลาว่างให้เหมาะสมและสามารถตัดสินใจอย่างฉลาด
             2.การเปลี่ยนแปลงด้านงานอาชีพ   ปัจจุบันวิทยาการและเทคโนโลยีเจริญเพิ่มขึ้นมาก   ก่อให้เกิดการขยายตัวด้านอุตสาหกรรมเป็นเหตุให้เกิดอาชีพใหม่เพิ่มขึ้นมากมายและอาชีพแต่ละอย่างก็ต้องการบุคคลที่มีคุณสมบัติ   มีความรู้   ความสามารถ   แตกต่างกันไป   ผู้ที่จะประกอบอาชีพนั้น ๆ ได้จะเป็นจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมมาในด้านนั้นโดยเฉพาะ   ดังนั้นการแนะแนวจึงเข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญในการเปลี่ยนแปลงด้านนี้   เนื่องจากจะต้องช่วยให้นักเรียนสามารถวางแผนและตัดสินใจเลือกอาชีพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม   สอดคล้องกับความสามารถ   ความถนัด   ความสนใจ   ของนักเรียนแต่ละคน
             3.การเปลี่ยนแปลงด้านจำนวนประชากร ปัจจุบันประชากรของประเทศเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าอัตราการเกิดจะลดลงแล้วก็ตาม   ทำให้เกิดปัญหาตามมาหลายประการ   เช่น  ปัญหาที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ   มีการแข่งขันกันสูง   เนื่องจากเกิดสภาวะคนล้นงาน  ทำให้เกิดปัญหาคนว่างงานมีเพิ่มมากขึ้น   ปัญหาจำนวนนักเรียนล้นชั้นเรียน   โดยเฉพาะโรงเรียนที่มีชื่อเสียงและอยู่ในเมือง   แต่ในทางตรงกันข้ามโรงเรียนที่อยู่ในชนบทหรือโรงเรียนเล็ก ๆ กลับไม่ค่อยมีนักเรียนเข้าเรียน   เนื่องจากผู้ปกครองมองไม่เห็นความสำคัญของการศึกษา   เพราะได้พบเห็นว่าผู้ที่ศึกษาสูง ๆ แต่เมื่อสำเร็จออกมากลับไม่มีงานทำ   ต้องเหลือนักเรียนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และเพื่อจะได้ชี้แจงให้นักเรียนและผู้ปกครองได้ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์
            4.การเปลี่ยนแปลงด้านศีลธรรมและวัฒนธรรม   เนื่องจากปัจจุบันนี้กาเผยแพร่ข่าวสารต่างๆ ทำได้ง่ายและรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นนิตยสาร หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ ทำให้วัฒนธรรมตะวันตกไหลบ่าเข้ามาในประเทศไทยอย่างรวดเร็วเป็นเหตุให้เด็กเกิดความสงสัยและเกินความสับสนวุ่นวายในจิตใจ เนื่องจากสิ่งที่ทางบ้านและทางโรงเรียนสอนให้เด็กประพฤติปฏิบัติ กับสิ่งที่เด็กได้พบเห็นในสังคมนั้นไม่สอดคล้องกันหรือขัดแย้งกัน ทำให้เด็กเกิดความลังเลว่าตนควรจะเชื่อคำสั่งสอนของทางบ้านและโรงเรียนดี หรือควรจะเชื่อตามความเป็นไปของสังคม ด้วยเหตุนี้ทำให้เด็กไม่สามารถตัดสินได้ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี อะไรควร อะไรไม่ควร อะไรถูก อะไรไม่ถูก ด้วยเหตุนี้การจัดบริการแนะแนวในโรงเรียนจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพราะเป็นบริการที่จะช่วยให้เด็กสามารถเลือกและตัดสินใจได้อย่างฉลาดและถูกต้อง
           5.ความเปลี่ยนแปลงด้านปรัชญาการศึกษาและหลักสูตร ปรัชญาการศึกษาปัจจุบันเน้นให้เด็กคิด ทำเป็น แก้ปัญหา และยังมุ่งหวังให้เด็กเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพ ดังนั้น หลักสูตรจึงมีการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับปรัชญาการศึกษา คือ หลักสูตรการศึกษาจึงเป็นหลักสูตรแบบกว้างเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กเลือกเรียนวิชาต่างๆ ตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจของแต่ละบุคคล แต่การที่เด็กจะสามารถเลือกวิชาหรือสายการเรียนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม จำที่เด็กจะต้องรู้จักและเข้าใจตัวเองอย่างถ่องแท้เสียก่อน ดังนั้น การจัดบริการแนะแนวในโรงเรียนจึงเป็นสิ่งที่ทางโรงเรียนจะละเว้นเสียไม่ได้เพราะบริการแนะแนวจะช่วยให้นักเรียนสามารถเลือกและตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม   รู้แนวทางในการศึกษาต่อในการประกอบอาชีพ และรู้จักที่จะพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพอีกด้วย  
ประโยชน์ของการจัดบริการแนะแนวในโรงเรียน
            ในการจัดบริการแนะแนวขึ้นในโรงเรียนนั้น ถ้าโรงเรียนสามารถให้บริการแก่นักเรียนได้อย่างได้ผลดีมีประสิทธิภาพ จะเกิดประโยชน์ดังต่อไปนี้
            1.ช่วยให้นักเรียนได้รู้จักและเข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้ ทำให้สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี รู้จักเลือกและตัดสินใจได้อย่างฉลาดและเหมาะสมสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ตนประสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางแผนการชีวิตในอนาคตของตนเองและสามารถนำตนเองไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ทั้งยังช่วยให้นักเรียนได้รับการส่งเสริมพัฒนาให้เกิดความเจริญงอกงามทุกด้านอย่างมีบูรณรการ
          2.ช่วยให้คณะครูได้รู้จักนักเรียนของตนแต่ละคนอย่างลึกซึ้ง ทำให้ยอมรับนักเรียนในฐานะเป็นเอกัตบุคคล เข้าใจว่านักเรียนแต่ละคนมีความแตกต่างในด้านต่างๆ เช่น สติปัญญา สภาพร่างกาย ความถนัด ความสนใจ ค่านิยม ทำให้ทางโรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนและจิตกรรมต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน และช่วยให้ปัญหาของโรงเรียนที่เกิดจากนักเรียนลดน้อยลงไปอีกด้วย
         3.ช่วยให้บิดามารดาและผู้ปกครองของนักเรียนรู้จักและเข้าใจเด็กของตนดีขึ้น ยอมรับสภาพความเป็นจริงเกี่ยวกับบุตรหลานของตนในฐานะที่เป็นบุคคลคนหนึ่งซึ่งแตกต่างจากบุคคลอื่นๆ และให้ความร่วมมือแก่ทางโรงเรียนในการส่งเสริมพัฒนาบุตรหลานของตน
         4.ช่วยให้สังคมและประเทศชาติได้รับประชากรที่มีคุณภาพ ไม่เป็นผู้ที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคมและช่วยเพิ่มพูนเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากเด็กได้เรียนและได้ประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับความสามารถ ความถนัด และความสนใจของตน
ปัญหาของนักเรียนที่ควรได้รับแนะแนว
          ปัญหาต่างๆ ของนักเรียนที่เกิดขึ้นและสมควรจะได้รับการแนะแนวนั้นมีอยู่มากมายแต่พอจะจำแนกออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 8 ประเภท คือ
     1  .ปัญหาที่เกี่ยวกับพัฒนาการด้านร่างกายและสุขภาพ
          1.1 ความวิตกกังวลเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
          1.2 สุขภาพไม่แข็งแรงมีโรคประจำตัว
          1.3 รูปร่างไม่ดี ขาดอาหาร อ้วนหรือผอมเกินไป
          1.4 การรับประทานอาหาร การดื่ม การออกกำลังกายและการพักผ่อน
          1.5 การรักษาความสะอาดและการป้องกันโรค
          1.6 การขับถ่ายของเสีย
          1.7 การใช้ยา
   2.ปัญหาเกียนกับการศึกษาเล่าเรียน เช่น
     2.1 ไม่ชอบครูบางคน เนื่องจากดุเกินไป หรือไม่ให้ความยุติธรรม
      2.2 ไม่ชอบเรียนวิชาบางวิชา เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย
      2.3 ขาดนิสัยและทักษะในการเรียนที่จำเป็น เช่น การอ่านหนังสือ การค้นคว้าเขียนรายงา
น การเตรียมตัวสอบ การทำตารางประจำวัน หรือต้องออกไปพูดหน้าชั้น
      2.4 รู้สึกประหม่าเมื่อถูกครูถาม หรือต้องออกไปพูดหน้าชั้น
      2.5 ขี้เกียจ ชอบลอกงานเพื่อน ไม่พยามยามทำงานอย่างเต็มความสามารถของตน
      2.6 ท้อถอย ไม่สู้งาน ชอบหนีเรียน
  3.ปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางครอบครัว
    3.1 มีความรู้สึกขัดแย้งกับบิดามารดาของตน เนื่องจากถูกบังคับมากเกินไป
     3.2 มีความรู้สึกขาดความอบอุ่น เนื่องจากบิดามารดาไม่เอาใจใส่
     3.3 มีความรู้สึกขาดเพื่อน เนื่องจากเป็นลูกคนเดียว
     3.4 มีงานต้องช่วยบิดามารดาทำมากเกินไป
     3.5 ขาดความสามัคคีในหมู่พี่น้อง
     3.6 ไม่ได้รับความยุติธรรมจากบิดามารดา
     3.7 ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวไม่ดี  มีสภาพบ้านแตก
     3.8 บิดามารดาหรือผู้ปกครองไม่ให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียน
     3.9 บิดามารดาปฏิบัติต่อนักเรียนเหมือนเด็กเล็ก
 4.ปัญหาด้านการเงิน เช่น
     4.1 ขาดผู้อุปการะส่งเสียให้เล่าเรียน
    4.2 ต้องทำงานหารายได้ช่วยตนเองเพื่อใช้เป็นทุนในการซื้ออุปกรณ์ในการศึกษาเล่าเรียน
    4.3 ต้องการหารายได้ช่วยเหลือตนเอง
    4.4 ต้องการรู้จักวิธีการใช้จ่ายเงินที่เหมาะสม
    4.5 ต้องการให้ผู้ปกครองให้เงินเป็นก้อน เพื่อตนจะได้รับผิดชอบการใช้จ่ายเอง
    4.6 ต้องการให้ผู้ปกครองให้เงินเพิ่มขึ้น
 5.ปัญหาเกี่ยวกับเพื่อนต่างเพศ
    5.1 การปรับตัวด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศ เช่น ความรัก การเกี้ยวพาราสี การกอดจูบ การแต่งงาน
    5.2 การมีนัดกับเพื่อนผู้ชายที่เป็นบิดามารดา หรือผู้ปกครองไม่รู้จัก
    5.3 บิดามารดาไม่อนุญาตให้ออกไปเทียวกับเพื่อนต่างเพศ
    5.4 การปฏิเสธการนัดของเพื่อนต่างเพศ โดยไม่ทำให้เขารู้สึกเจ็บปวด
 6.ปัญหาเกี่ยวกับบุคลิกภาพและสังคม
    6.1 ต้องการให้เป็นที่สนใจของคนทั่วไป
    6.2 ต้องการเป็นคนที่มีกิริยามารยาทงาม
    6.3 ต้องการให้กิริยาท่าทาง การแต่งกาย และน้ำเสียงของตนเป็นที่ประทับใจของผู้พบเห็น
    6.4 เข้ากับคนอื่นไม่ได้
    6.5 อารมณ์อ่อนไหว ใจน้อย โกรธง่าย
    6.6 ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง
    6.7 การอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นๆ
    6.8 ปรัชญาชีวิต เช่น ศาสนา ความเชื่อ ค่านิยม
   6.9 ความเป็นพลเมืองดี
7.ปัญหาเกี่ยวกับการใช้เวลาว่าง
    7.1 การทำตารางประวันเพื่อเป็นการวางแผนใช้เวลาในแต่ละวัน
    7.2 การเล่นกีฬาและเกมต่างๆ
    7.3 การทำงานศิลปะและการฝีมือ
    7.4 การสมาคมและการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม
    7.5 การมีเวลาว่างมาก
 8.ปัญหาเกี่ยวกับอาชีพ
    8.1 ไม่ทราบว่าจะตัดสินใจเลือกเรียนต่ออะไรดี
    8.2 ไม่ทราบว่าจะตัดสินใจประกอบอาชีพอะไรดี
    8.3 อยากเลือกเรียนอาชีพบางอย่างแต่ขาดทุนทรัพย์
    8.4 อยากเรียนต่อแต่ผู้ปกครองจะให้ออกไปประกอบอาชีพเจริญรอยตามผู้ใหญ่
    8.5 อยากเรียนวิชาชีพอย่างหนึ่งแต่บิดามารดาต้องการให้เรียนอีกอย่างหนึ่ง
    8.6 ขาดความรู้เกี่ยวกับการหางาน
    8.7 ขาดความรู้เกี่ยวกับวิธีการเข้าสมัครงาน


ที่มา http://libauto.tsu.ac.th/ulib/dublin.php?ID=13399164962

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น